| กองบรรณาธิการ Centrip
อุอิโรและบริษัทอาโอะยางิ
ห่างจากใจกลางเมืองนาโงยะขึ้นไปทางเหนือเป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตขนม uirou แม้จะหาซื้อได้ทั่วประเทศแต่ขนม uirou ที่ขึ้นชื่อที่สุดคือของนาโงยะ
คำว่า “uirou” เคยเป็นชื่อเรียกของชนิดของยา แต่ในปัจจุบันใช้เป็นชื่อขนม วัตถุดิบที่ใช้ทำอุอิโรต่างไปตามภูมิภาค แต่ที่นาโงยะส่วนผสมหลักที่ใช้ทำ uirou คือข้าว
เราได้รับโอกาสไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตขนมดังกล่าวซึ่งบริหารจัดการโดยบริษัท Aoyagi ซึ่งมีความหมายว่า “ต้นวิลโลว์สีเขียว” แน่นอนว่าชื่อนี้มีที่มาการเข้าชมโรงงานครั้งนี้ เราโชคดีที่ได้คุณโกะโตะผู้มีตำแหน่งเป็นประธานกรรมการผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้นำการเยี่ยมชม
ข้างนอกโรงงานมีต้นวิลโลว์และรูปปั้นหินรูปกบที่นั่งแหงนคอมองต้นวิลโลว์ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการก่อตั้งบริษัท
คุณโกะโตะเล่าเกี่ยวกับที่มาของการตั้งบริษัทให้เราฟังว่าบริษัท Aoyagi ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1879 แรกเริ่มเป็นเพียงกิจการภายในครอบครัว เมื่อเข้าโรงงานสิ่งที่จะสังเกตเห็นอย่างสะดุดตา คือ การประดับตกแต่งโรงงานด้วย กบ แม้แต่โลโก้ของบริษัทก็ยังเป็นรูปกบ สัญลักษณ์ของกบนี้มีที่มาจากเรื่องเล่าขานที่ว่ามีชายผู้หนึ่งที่ยืนมองกบกระโดดจะขึ้นไปอยู่บนต้นวิลโลว์แต่พลาดทุกครั้ง แต่เจ้ากบก็ยังคงพยายามต่อไปจนมีลมพัดให้กิ่งต้นวิลโลว์โน้มลงมา ทำให้มันสามารถขึ้นไปได้ในที่สุด
(คุณโกะโตะได้บอกเราด้วยว่า แม้ว่า“uirou” จะมีการออกเสียงคล้ายกลับ “วิลโลว์” แต่ก็เป็นเพียงแค่เรื่องบังเอิญเท่านั้น)
ที่มาของการตกแต่งแบบนี้คือการเล่นคำในภาษาญี่ปุ่นที่ คำว่า “กบ” (カエル kaeru ) ออกเสียงพ้องกับคำว่า “กลับ” (帰る kaeru) ขนมของบริษัทนี้จึงมักกลายเป็นของขวัญมอบให้ผู้เดินทางเพื่อแทนคำบอกให้กลับมาโดยปลอดภัย
ในปัจจุบันบริษัทมีพนักงานราว 160 คน ครึ่งนึงทำงานในโรงงานผลิต uirou แบบนึ่งและอีกครึ่งนึงทำงานในโรงงานแบบอบ คุณโกะโตะเริ่มพาเราชมโดยเริ่มจากโรงอาหาร หนึ่งในไม่กี่ที่ในโรงงานที่มีหน้าต่าง เขาอธิบายสาเหตุที่ในโรงงานไม่มีหน้าต่างคือเพื่อไม่ให้แมลงต่าง ๆ เข้ามาทำให้ขนมสกปรกได้ และเพื่อให้พนักงานสามารถมีสมาธิจดจ่ออยู่กับงานได้โดยไม่ต้องสนใจสภาพอากาศด้านนอก โรงอาหารจึงเป็นสถานที่ให้พนักงานพักผ่อนและชมบรรยากาศภายนอกหลังจากที่อยู่แต่ในห้องที่มีแต่เครื่องจักรกล
ต่อจากโรงอาหาร เราได้ไปดูและสัมผัสความเข้มงวดด้านความสะอาดของบริษัท ทางโรงงานได้เตรียมผ้ากันเปื้อน หมวกคลุมผม และรองเท้าให้เราใส่ แล้วพาไปล้างมือ และให้เข้าไปในห้องเล็ก ๆ เพื่อเป่าลมแรงดันสูง จากนั้นเมื่อออกมาจากห้องนั้นทางโรงงานให้เราเปลี่ยนรองเท้าอีกรอบถึงจะพาเข้าชมโรงงานนึ่งขนม
แม้ว่าความพิถีพิถันในการทำuirou จะหายไปจากการใช้เครื่องจักร แต่ว่าก็ยังใส่ใจในการผลิตยังคงอยู่เพื่อให้ขนมมีเนื้อสัมผัสที่ไม่แข็งไม่นุ่มจนเกินไป คุณโกะโตะเล่าว่า uirou มีความแตกต่างจากขนมปังตรงที่ไม่ควรทานทันทีที่ออกจากเตาแต่ควรรอจนกว่าเนื้อขนมจะมีความนุ่มที่พอดี ซึ่งกระบวนการดังกล่าวอาจใช้เวลานานเป็นชั่วโมง
หลักจากได้เนื้อสัมผัสที่ไม่อ่อนไม่แข็งจนเกินไปแล้ว ขนมจะถูกส่งไปตรวจคุณภาพ (ตรวจรูปร่าง การปนเปื้อน ฯลฯ) ติดป้ายวันหมดอายุ ใส่กล่อง และจัดส่งในที่สุด
ส่วนโรงงานอบก็มีกระบวนการผลิตที่เหมือนกัน คุณโกะโตะบอกเราว่าที่นี่เป็นอีกหนึ่งในไม่กี่สถานที่ที่มีหน้าต่างนอกจากโรงอาหารเพราะตั้งอยู่ในอาคารเก่า
ต่อมาเราได้ลองติดตาลงบน “มันจูกบ” หนึ่งในขนมที่ผลิตโดยบริษัท Aoyagi ที่มีรูปร่างคล้ายซาลาเปาก้อนเล็ก ๆ ที่มีรูปร่างเป็นกบ ทางโรงงานยังเปิดโอกาสให้เราเอาขนมที่เรามีส่วนในการตกแต่งกลับบ้านไปชิมด้วย แน่นอนว่าขนมนี้มีรสชาติที่อร่อย กลมกล่อม
ตลอดทั้งการเยี่ยมชม พนักงานที่นี่ต้อนรับเราอย่างดีเยี่ยมพร้อมทำงานอย่างขยันขันแข็ง
ที่สุดท้ายที่เราได้ไปชมคือร้านขนมที่โด่งดังจาก uirou สถานที่ปลายทางของขนมที่ผลิตที่โรงงาน
คุณโกโตะผู้แสนใจดียังมอบขนม uirouให้เราเอากลับด้วย เหมือนกันกับมันจูกบที่มีรสชาติอร่อย กลมกล่อม ไม่ฉูดฉาดจนเกินไป ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงวัฒนธรรมดั้งเดิมของญี่ปุ่นได้อย่างดี
เราขอขอบคุณคุณโกะโตะและพนักงานทุกท่านที่บริษัทAoyagi ที่มอบประสบการณ์อันแสนสนุกและให้ความรู้กับเรา หากคุณกำลังมองหาขนมที่ทั้งอร่อยและเป็นตัวแทนของเมืองนาโงยะ uirou จากบริษัท Aoyagi คือตัวเลือกที่เหมาะสำหรับคุณ