January
ฮานาบิระโมจิ
ฮานาบิโมจิสื่อถึงเครื่องประดับบนคากะมิโมจิ (โมจิที่รูปร่างเหมือนกระจกที่หาได้เฉพาะในช่วงเทศกาลปีใหม่) ที่มักใช้ในพิธีโอะฮะกะตะเมะ (พิธีที่จัดในวังหลวงเพื่ออายุที่ยืนยาว) สีแดงอ่อนๆแต้มบนฮะบุทะเอะโมจิ (โมจิเนื้อนุ่มและลื่น) แสดงถึงการรอคอยฤดูใบไม้ผลิที่กำลังจะมาถึง โคะโบแสดงถึงปลาแห้ง และมิโซะแสดงถึงโซนิ หรือเมนูที่ทานในช่วงปีใหม่ (ซุปมิโซะใส่โมจิ)
ส่วนผสม: ไข่, ถั่วเหลือง
ควรบริโภคภายใน: 3 วัน
คาซาเนะอุเมะ
ดอกบ๊วยบานในช่วงใกล้หลดฤดูหนาวคือสัญญาณแรกของการมาของฤดูใบไม้ผลิ
ดอกบ๊วยเป็นที่รู้กันว่าเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความสุขมาตั้งแต่สมัยโบราณเช่นเดียวกับต้นสนและต้นไผ่
กลีบดอกบ๊วยถูกถ่ายถอดผ่านการทำโคนาชิ (ถั่วบดหวานนำมาปั้น) ให้เป็นชั้นบางๆ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เราได้ทำ คาซาเนะอุเมะ ขายเป็นขนมพิเศษสำหรับช่วงปีใหม่มาตลอด
ส่วนผสม: มันญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
เอโทคะอินุ
2018 คือปีสุนัข
สุนัขในความเชื่อของคนญี่ปุ่นคือเทพเจ้าผู้คุ้มครองการคลอดบุตรอย่างปลอดภัย เนื่องมาจากว่าสุนัขมักคลอดลูกได้ทีละหลายตัวโดยไม่ต้องเจ็บปวด
ส่วนผสม: มันญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน: 3 วัน
ยุกิ โนะ มัตสึ
เราสื่อถึงต้นสนที่ตั้งตระหง่านกลางหิมะด้วยการวางเนริโจโยอัน (เพสต์จากมันโจโย) วางลงบนถั่วขาวอบที่แต้มด้วยสีเขียว
ส่วนผสม: มันญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
ฟูจิ เอ็นโบ
ช่วงเช้าตรู่ของช่วงเริ่มฤดูใบไม้ผลิที่ถูกแต่งแต้มไปด้วยสีแดงและทิวทัศน์ของภูเขาไฟฟูจิที่อยู่ห่างไกล
ฟูจิ เอ็นโบทำจากการทำวุ้นจากรากคุสึผสมกับผงวุ้นและผสมกับเมอแรงเข้าเป็นขนมชิ้นเดียว
ส่วนผสม: มันญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน: 3 วัน
สึบากิโมจิใส่น้ำตาลดำ
ในสมัยเฮอันสึบากิโมจิถูกนำเข้ามาจากจีนเช่นเดียวกับขนมชนิดอื่นๆ
โดเมียวจิ (เค้กข้าวชนิดหนื่งที่มีพื้นผิวครุคระ) จากการบดถั่วหยาบๆแล้วแต่งรสหวานบวกกับเติมกลิ่นน้ำตาลดำ ตกแต่งด้วยใบของต้นสึบากิ
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
อุกุอิซุ โมจิ (นกอุกุอิซุ)
อุกุอิซุ โมจิ ทำจากการนำโมจิชั้นบางๆมาห่อถั่วบดหวาน แล้วโรยผงอุกุอิสุ คินาโกะ (ผงถั่วเขียว) ชื่อของขนมมาจากที่สีและลักษณะของมันดูเหมือนนกชนิดดังกล่าว
ส่วนผสม: ไข่, ถั่วเหลือง
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
โคไบ
ดอกบ๊วย ซึ่งมองกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความไร้เดียงสาและความอ่อนช้อย บานอย่างงอกงามในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ความสวยงามของดอกบ๊วยถูกถ่ายทอดผ่านการนำแป้งวาราบิมาห่อถั่วบดละเอียดแต้มสีแดงและขาว กับถั่วที่บดหยาบ
ส่วนผสม: มันญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
อุเมะกะคะ
กลิ่นของบ๊วยเป็นที่พูดถึงมาแต่โบราณว่าสามารถส่งกลิ่นไปได้เป็นอาณาเขตที่กว้าง และถูกนำมาเขียนในกลอนตั้งแต่สมัยโบราณ
อุเมะกะคะทำจากการนำงาดำมาผสมกับถั่วขาวที่กวนจนละเอียด
ซึ่งมองกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของความไร้เดียงสาและความอ่อนช้อย บานอย่างงอกงามในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ ความสวยงามของดอกบ๊วยถูกถ่ายทอดผ่านการนำแป้งวาราบิมาห่อถั่วบดละเอียดแต้มสีแดงและขาวกับถั่วที่บดหยาบ เนริโจโยอัน (เพสต์จากมันโจโย) นั้นถูกแต้มสีแดงและขาวและถูกแต่งให้อยู่ในรูปของกลีบดอกไม้
ส่วนผสม: มันญี่ปุ่น, งา
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
โคะโนะฮานะ
"โคะโนะฮานะ" คือคำในบทกลอนญี่ปุ่นที่ใช้กล่าวถึงดอกบ๊วย
ดอกบ๊วยถูกวาดไว้บนถั่วบดหวานและหุ้มด้วยแผ่นแป้งจากการนำมันไปกวน
ส่วนผสม: มันญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
February
“ทสึบากิโมจิ"
ทสึบากิโมจิเป็นโมจิที่รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน พร้อมกับขนมชนิดอื่น ๆ ในช่วงเฮอัน
ทสึบากิโมจิเป็นโมจิที่รับอิทธิพลมาจากประเทศจีน พร้อมกับขนมชนิดอื่น ๆ ในช่วงเฮอัน
วัตถุดิบหลัก : "ไข่ไก่"
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
“มาโดะ โนะ อุเมะ"
ในช่วงเวลาที่หนาวเหน็บ การบานของดอกบ๊วยเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ ความสวยงามของดอกไม้ได้้สื่อผ่าน "โคนาชิ" หรือการปั้นถั่วหวานด้วยมือนั่นเอง
วัตถุดิบหลัก : "แป้ง" "มันเทศญี่ปุ่น"
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
“วาราบิยามะ” (ภูเขาวาราบิ)
วาราบิโมจิ เป็นขนมที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ว่าเป็นขนมที่รับประทานคู่กับชาเขียวญี่ปุ่น แป้งที่นวดเป็นอย่างดีถูกห่อด้วยถั่วอบรสหวาน และเคล้าด้วยแป้งคินาโกะ (แป้งถั่วเหลือง) ลักษณะคล้ายภูเขาเป็นที่มาของชื่อ วาราบิยามะ หรือ ภูเขาวาราบิ นั่นเอง
วัตถุดิบหลัก : "ถั่วเหลือง"
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
“ฮารุเบะ"
ฮารุเบะเป็นสัญลักษณ์ของการบานของดอกบ๊วยในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ โดยมีการแต่งแต้มสีขาวของแป้งถั่วเหลืองให้เป็นสีแดงและขาว
วัตถุดิบหลัก : "แป้ง"
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
“ซุยเซนกะ” (ดอกนาร์ซิสซัสน้ำ)
ดอกนาร์ซิสซัสเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูหนาว ถั่วแดงหวานที่ผ่านการอบถูกห่อด้วย"คารุกัง" (ขนมที่ทำมาจากการนึ่งมันเทศและแป้ง) ที่มีสีเหลืองและเขียว
วัตถุดิบหลัก : "มันเทศญี่ปุ่น"
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
"โยโมกิ โมจิ" หรือ โมจิที่ผสมกับจิงจูฉ่าย
มีความเชื่อที่ว่าการได้ดมกลิ่นของโยโมกิ เป็นการขับไล่ปีศาจ จึงได้มีการนำมาผสมกับโมจิเพื่อให้ผู้ทานได้สนุกสนานกับการลิ้มรสความเป็นฤดูใบไม้ผลิ โมจิที่ใส่โยโมกิจะถูกห่อด้วยถั่วหวานต้ม เป็นอีกหนึ่งขนมหวานญี่ปุ่นที่คุณไม่ควรพลาดในช่วงฤดูใบไม้ผลิ
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
"ทากาโซเดะ"
บรรยากาศของดอกบ๊วยผลิบานและความสง่างามของยุคโมโมยาม่า (1583-1600) ุถูกบรรยายผ่านการพับแป้งถั่วแดงกับ"โคนาชิ" หรือการปั้นถั่วหวานด้วยมือนั่นเอง
วัตถุดิบหลัก : "แป้ง"
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
“วาราบิยามะ” (ภูเขาวาราบิ)
วาราบิโมจิ เป็นขนมที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ว่าเป็นขนมที่รับประทานคู่กับชาเขียวญี่ปุ่น แป้งที่นวดเป็นอย่างดีถูกห่อด้วยถั่วอบรสหวาน และเคล้าด้วยแป้งคินาโกะ (แป้งถั่วเหลือง) ลักษณะคล้ายภูเขาเป็นที่มาของชื่อ วาราบิยามะ หรือ ภูเขาวาราบิ นั่นเอง
วัตถุดิบหลัก : "ถั่วเหลือง"
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
"คิซุยเซน" (ดอกนาร์ซิสซัสสีเหลือง)
ดอกนาร์ซิสซัสเป็นดอกไม้ที่บานในช่วงฤดูหนาว นำแป้งข้าวรสหวานพันรอบแป้งถั่วสีขาวรสหวานและปั้นเป็นรูปดอกไม้ที่สวยงาม
วัตถุดิบหลัก : "แป้ง"
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
"ชิตะ โมเอะ" (การเจริญงอกงามจากผืนดิน)
ถั่วหวานนึ่งด้วยน้ำตาลทรายแดงและเนริโจ โยอัน (มันฝรั่งโจโยบด) พร้อมด้วย ถั่วแดงหวาน เป็นขนมที่สื่อถึงการงอกงามของต้นหญ้าจากพื้นดินที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ
วัตถุดิบหลัก : "มันเทศญี่ปุ่น"
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
March
"วาราบิยามะ" (ภูเขาวาราบิ) ทำด้วยแป้งจากรากต้นวาราบิ
วาราบิโมจิ (ขนมแป้งซึ่งทำมาจากรากต้นวาราบิ) เป็นขนมที่มักทานคู่ชาเขียว แป้งที่นวดแล้วนำมาห่อโคชิอัน (ถั่วบดหวาน) แล้วโรยด้วยผงคินาโกะ (ผงถั่วเหลืองคั่ว) เกิดเป็นผิวสัมผัสที่เป็นที่มาของชื่อขนม คือ "วาราบิยามะ" (ภูเขาวาราบิ)
วัตถุดิบหลัก: ถั่วเหลือง
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
"ฮารุ บิโยะริ" ทำด้วยคะรุคัน (ขนมแป้งนึ่งคล้ายหมั่นโถว)และถั่วแดงกวน
ดอกไม้ป่าเบ่งบานเต็มสวนคือสัญญาณแห่งการมาเยือนของฤดูใบไม้ผลิ คะรุคัน (ขนมแป้งนึ่งคล้ายหมั่นโถว)และถั่วแดงกวนประกอบกันแล้วโรยด้วยถั่ว คือ การนำเสนอถึงการมาเยือนของฤดูใบไม้ผลิ
วัตถุดิบหลัก: แป้ง, มันญี่ปุ่น
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
"ฮานะ โกะโระโมะ" ทำด้วยโมจิและวุ้นถั่วแดง
ดั่งอาภรณ์หลากชั้นและสี ขนมนี้ทำด้วยโมจิและโยกัน (วุ้นถั่วแดง)แสดงถึงความสวยงามของการร่ายรำในชุดที่สะบัดพลิ้วไหวใต้ต้นซากุระ
วัตถุดิบหลัก: ไข่
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
"นะโนะฮานะ คินทน" (คินทนดอกคาโนล่า) ทำด้วยคินทน
เมื่อ "นะโนะฮานะ" (ดอกคาโนล่า) สีทองบานเต็มสวน นั่นคือสัญญาณแห่งการมาเยือนของฤดูใบไม้ผลิ ขนมชิ้นนี้ทำจากการทำ "โคะนะชิ" (แป้งจากถั่วที่นวดด้วยมือ)
วัตถุดิบหลัก: มันญี่ปุ่น
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
"โมโมะ โนะ ฮานะ" (ดอกท้อ) ทำด้วยคินทน
จากความเชื่อแต่โบราณว่าลูกท้อจะขจัดวิญญาณชั่วร้ายออกไป เทศกาล "โมโมะ โนะ เซ็กกุ" (เทศกาลการจัดตุ๊กตา)จึงจัดขึ้นเพื่อขอพรให้เด็กผู้หญิงทุกคนได้เติบโตอย่างมีความสุขภายใต้การปกปักรักษาของต้นท้อหรือ "โมโมะ" ใส้ถั่วบดหวานห่อด้วย "โคะนะชิ" (แป้งจากถั่วที่นวดด้วยมือ)แล้วนำมาทำให้อยู่ในรูปของดอกท้อ ตกแต่งด้วยมีลายไม้
วัตถุดิบหลัก: แป้ง
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
"วาราบิยามะ" (ภูเขาวาราบิ) ทำด้วยแป้งจากรากต้นวาราบิ
วาราบิโมจิ (ขนมแป้งซึ่งทำมาจากรากต้นวาราบิ) เป็นขนมที่มักทานคู่ชาเขียว แป้งที่นวดแล้วนำมาห่อโคชิอัน (ถั่วบดหวาน) แล้วโรยด้วยผงคินาโกะ (ผงถั่วเหลืองคั่ว) เกิดเป็นผิวสัมผัสที่เป็นที่มาของชื่อขนม คือ "วาราบิยามะ" (ภูเขาวาราบิ)
วัตถุดิบหลัก: ถั่วเหลือง
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
"ฮารุ โนะ มิสุ" (สายน้ำในฤดูใบไม้ผลิ) ทำด้วยโคะนะชิ
ดอกซากุระยิ่งดูงดงามน่าชมยิ่งขึ้นเมื่ออยู่กับลำน้ำที่แสงแดดอบอุ่นสะท้อนในวันฤดูใบไม้ผลิ เรานำเสนอการมาเยือนของฤดูใบไม้ผลิบนขนมชนิดนี้ด้วยการห่อถั่วกวนด้วย "โคะนะชิ" (แป้งจากถั่วที่นวดด้วยมือ)ที่เป็นสีฟ้าและขาว
วัตถุดิบหลัก: แป้ง
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
"ยะโยะอิโนะ" ทำด้วยอุอิโระ (วุ้นข้าวรสหวาน)
การห่ออุอิโระด้วยถั่วบดแต้มสามสีคือวิธีการนำเสนอถึงภาพของฤดูใบไม้ผลิที่แสนสงบ คือภาพของดอกไม้ใบหญ้าและต้นไม้ที่ผลิดอกออกใบภายใต้แสงอาทิตย์อันอบอุ่น
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
"ซึคุชินโบะ" (ต้นสึคุชิ) ทำด้วยคารุคัน (ขนมแป้งนึ่งสีขาวลักษณะคล้ายหมั่นโถว)
ต้นสึคุชิที่ชูลำต้นขึ้นมาจากพื้นดินในช่วงฤดูใบไม้ผลิ คือสัญญาณแรกแห่งการมาของฤดูใบไม้ผลิ ถั่วแดงกวนห่อด้วยคารุคัน (ขนมแป้งนึ่งสีขาวลักษณะคล้ายหมั่นโถว)
วัตถุดิบหลัก: มันญี่ปุ่น
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
"โยชิโนะ ยามะ" (ภูเขาโยชิโนะ) ทำด้วยคินทน
ดอกซากุระแตกต่างจากดอกไม้ชนิดอื่นตรงที่บานเป็นช่อ ไม่ใช่บานแยกเป็นดอกเดี่ยวๆ ขนมชนิดนี้นำเสนอถึงภาพของดอกซากุระมี่บานเต็มภูเขาโยชิโนะในช่วงฤดูใบไม้ผลิลงบนโคชิอัน (ถั่วกวนปั้นเป็นก้อน)
วัตถุดิบหลัก: แป้ง
ควรรับประทานภายใน 2 วัน
April
ฮารุ เกชิกิ (บรรยากาศแห่งฤดูใบไม้ผลิ)
ถั่วแดงอบรสหวาน ห่อด้วยโยชิโนะ คุซุ (แป้งอาโรรุดจากโยชิโนะ จังหวัดนาระ) และปิดท้ายด้วยวิธีการจาคิน ชิโบริ (การปั้นโดยการห่อด้วยผ้าและบิด) ฮารุ เกชิกิเป็นของหวานที่ทำให้เห็นการแตกยอดของต้นไม้ การบานสะพรั่งของดอกไม้และแสงสะท้อนที่สวยงามของแสงอาทิตย์ในฤดูใบไม้ผลิ
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
ฮานะ คุเระไน
ดอกไม้หลากหลายเฉดสี ชวนให้มองด้วยความสวยงามโดยแท้จริง ถั่วแดงอบรสหวานแต่งด้วยสีสันที่สวยงามที่สะท้อนให้เห็นสีสันที่สวยงามของฤดูใบไม้ผลิ
ส่วนผสม: มันญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
ซากุระ-กาวะ (แม่น้ำซากุระ)
การบานสะพรั่งของซากุระเคียงคู่กับการไหลของแม่น้ำพร้อมแสงแดดที่กระทบกับสายน้ำอย่างสวยงามเป็นสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิ คารุกัง หรือ ขนมปังนึงรสหวาน ย้อมสีชมพู ห่อด้วยถั่วต้มรสหวาน สะท้อนถึงสัญลักษณ์ของฤดูใบไม้ผลิได้เป็นอย่างดี
วัตถุดิบหลัก: มันเทศญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
ทสึมิ คุสะ (การเก็บเกี่ยว)
สนุกสนานกับการเก็บเกี่ยวในฤดูใบไม้ผลิ การเก็บพืชผักและดอกไม้ แล้วเอาพืชสด ๆ ในตะกร้า ทสึมิคุสะ ผลิตจากการนำถั่วขาวอบผสมสีชมพูมาพับในแป้งอุอิโรอุ (แป้งรสหวานที่ทำจากข้าว)
วัตถุดิบหลัก: แป้ง
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
ฮานะ โนะ ยามะ (ภูเขาแห่งดอกไม้)
คูริ โมจิ (แป้งข้าวสีชมพู) ตกแต่งด้วยถั่วขาว ทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนการบานสะพรั่งของซากุระ เมื่อห่อด้วยเวเฟอร์จากข้าวนุ่ม ๆ แล้ว ความหวานที่เกิดขึ้นนั้น เป็นรสที่บรรยายให้เห็นภาพของคำว่า ฤดูใบไม้ผลิ
วัตถุดิบหลัก: ไข่
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
คิริชิมา
อุนเซน (Unzen) เป็นภูเขาที่อยู่บริเวณคิริชิมา (คิวชู) ซึ่งปกคลุมไปด้วยความสวยงามในฤดูใบไม้ผลิ อีกทั้ง ยังเพิ่มความสวยงามของเปลวไฟลงไปในขนมอีกด้วย ขนมคิซึ(ผลิตจากแป้งคิซึ) แสดงให้เห็นถึงความสวยงามของบรรยากาศดอกไม้บานสะพรั่งในฤดูใบไม้ผลิ
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
อิวาเนะ ทสึทสึจิ (อิวาเนะที่สวยงาม)
ขนมที่มีมาตั้งแต่สมัยเอโดะ ทำงานถั่วรสหวานผสมกับความอร่อยของถั่วขาวและน้ำตาลทรายแดง ความหวานสื่อถึงความสวยงามของผืนป่าในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิถึงต้นฤดูร้อน
วัตถุดิบหลัก: มันเทศญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
ฮารุ โนะ ฮิ (วันแห่งฤดูใบไม้ผลิ)
ถั่วอบรสหวานห่อด้วยแป้งมันเทศนึ่งทำให้เกิดความรู้สึกเหมือนผีเสื้อกำลังเต้นรำในแสงแดดของฤดูใบไม้ผลิ
วัตถุดิบหลัก: มันเทศญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
อิเดะ โนะ เซ
อิเดะ ตั้งอยู่ในจังหวัดเกียวโต เป็นภาพของยามาบุกิในอดีต ถั่วกวนที่ถูกนำมาซ้อนกันสองชั้นด้วยสีสันที่แตกต่างกันนั้น ถูกพันด้วยถั่วแดงกวน เป็นการสะท้อนภาพความสวยงามของแสงสะท้อนของยามาบุกิตลอดริมแม่น้ำ
วัตถุดิบหลัก : แป้ง มันเทศญี่ปุ่น
ึควรบริโภคภายใน 2 วัน
ฟูจินามิ
ดอกวีสเตียเรียที่บานสะพรั่งในภูเขา บรรยากาศดอกวีสเตียเรียที่พลิ้วไหวตามสายลมเป็นแรงบันดาลใจในการผสมวุ้นข้าวรสหวานและถั่วเข้าด้วยกัน
วัตถุดิบหลัก: แป้ง
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
May
สะสะโมจิ
ขนมที่เป็นแป้งโมจิห่อไม้ไผ่บดละเอียดผสมกับถั่วขาวบด เพลิดเพลินกับความเรียบง่ายของขนมชนิดนี้และถั่วบดที่มีกลิ่นหอไม้ไผ่
วัตถุดิบเฉพาะ: ไข่
วันก่อนหมดอายุ: 2 วัน
ชะกุนาเก
ทำจากถั่วขาวหวานกับโคนาชิ(ถั่วบดหวานอบ) ขนมหวานที่แสดงให้เห็นถึงความสวยงามของต้นฤดูร้อนที่ดอกไม้้บานเต็มภูเขาและหุบเขา
วัตถุดิบเฉพาะ: มันยามะอิโม
วันก่อนหมดอายุ: 2 วัน
คาราโคโรโมะ
ขนมดั้งเดิมของเราทำจากถั่วบด มีแรงบันดาลใจจากบทกวี "คาคิซึบาสะ" รวมอยู่ในชุด "อาริวาระ โนะ นาริฮิระ" เขียนโดยมิคาวะ ยาสึฮาชิ
วัตถุดิบเฉพาะ: แป้ง
วันก่อนหมดอายุ: 2 วัน
ยามะชากุยะกุ
"ยามะชากุยะกุ" ขนมที่คล้ายดอกไม้เล็ก ๆ สีขาวท่ี่บานอยู่ เหมาะสำหรับดื่มกับน้ำชายามเย็น ดอกดอกโบตั๋นสีขาวน่ารักทำจากมันภูเขา
วัตถุดิบเฉพาะ: มันยามะอิโมะ
วันก่อนหมดอายุ: 2 วัน
ชาโนกะ
ฤดูร้อนใกล้เข้ามาในคืนที่88ของฤดูใบไม้ผลิ ขนมที่เป็นถั่วขาวยัดไส้ใบชาห่อด้วยแป้งโมจิ หอมด้วยกลิ่นชา
วันก่อนหมดอายุ: 2 วัน
ฮานะโชบุ
ในสมัยก่อน "菖蒲ุ"(ต้นไอริส) กับคำว่า"尚武" (การทหาร) ถูกเชื่อมโยงกับคำว่าแพ้ขนะ "勝負" เนืื่องจากเป็นคำพ้องเสียงซึ่งอ่านว่า"โชบุ"เหมือนกัน -ขนมชนิดนี้เป็็นห่อถั่วแดงและถั่วสีขาวกับห่อด้วย "โยชิโนะคุซึ" (ทำจากมันจากโยชิโนะจังหวัดนารา)
วันก่อนหมดอายุ: 2 วัน
ิมิยามะคิริชิม่า
ถั่วหวานบดห่อแสดงให้เห็นถึงความงามขอ ดอกสึสึจิภูเขา
วัตถุดิบเฉพาะ: มันยามะอิโม
วันก่อนหมดอายุ: 2 วัน
ยาชิโอะ
ต้นเมเปิ้ลผลิใบสีแดงในฤดูใบไม้ผลิ ขนมนี้คล้ายกับ "ยาชิโอะ" ผ้าย้อมสีหลายรอบเพื่อให้ได้สีแดงเข้ม
วัตถุดิบเฉพาะ: แป้ง
วันก่อนหมดอายุ: 2 วัน
ยาสุฮาชิ
ยาสุฮาชิตั้งอยู่ในจังหวัดมิกาว่า เป็นสถานที่ที่โด่งดังเรื่องดอกคากิชิบาตะ ดอกไม้มีสีม่วงตาม "ตำนานของอิเสะ"
ขนมชนิดนี้เป็นถั่วหวานห่อด้วยลงใน "karukan" (ขนมปังทำจากมันบด)
วัตถุดิบเฉพาะ: มัน
วันก่อนหมดอายุ: 2 วัน
ชินจู
ใบไม้สีเขียวในต้นฤดูร้อน ถั่วขาวบดที่่ห่อด้วยอุอิโระ(แป้งข้าวเจ้า)กับเนริโยคัง(เยลลี่ถั่วแดง) แสดงถึงความรู้สึกสดชื่นของป่าไม้
วัตถุดิบเฉพาะ: แป้ง
วันก่อนหมดอายุ: 2 วัน
June
"นุเระสึบาเมะ"
รายละเอียด: "นุเระสึบาเมะ" เป็นขนม "อุอิโระ" (แผ่นแป้งนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวญี่ปุ่น) ที่ตกแต่งด้วยรูปนกนางแอ่นที่คาบอาหารบินกลับรัง หนึ่งในภาพที่เห็นได้บ่อยในช่วงฤดูฝนที่ญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
"คาการิบิ"
รายละเอียด: "คาการิบิ" คือขนมทำจากถั่วแดงบดห่อด้วยแผ่นแป้งสีแดงที่ทำจากแป้งคุซึจากเมืองโยชิโนะจังหวัดนาระ มีที่มาของชื่อจากตะเกียงเหล็กที่ห้อยไว้ที่หัวเรือ "อุบุเนะ" เรือที่ใช้ในการจับปลาแบบอุไค (การจับปลาโดยใช้นกกาน้ำ) เวลากลางคืนในช่วงฤดูร้อนตะเกียงเหล็กดังกล่าวจะส่องไฟกระทบผิวน้ำ เป็นหนึ่งในจุดเด่นของเทศกาลในฤดูนี้
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
"คุซึยากิ"
รายละเอียด: "คุซึยากิ" เป็นขนมที่มีที่มาจากขนมที่เสิร์ฟในพิธีชงชาในสมัยมุโรมาจิ วัตถุดิบที่ใช้ทำขนมนี้คือแป้งคุซึคุณภาพดีจากเมืองโยชิโนะจังหวัดนาระ ออกมาเป็นขนมสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายวุ้นรสชาติทานง่ายที่เพิ่มรสสัมผัสโดยการย่าง
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
"คุซึยากิ"
รายละเอียด: "คุซึยากิ" เป็นขนมที่มีที่มาจากขนมที่เสิร์ฟในพิธีชงชาในสมัยมุโรมาจิ วัตถุดิบที่ใช้ทำขนมนี้คือแป้งคุซึคุณภาพดีจากเมืองโยชิโนะจังหวัดนาระ ออกมาเป็นขนมสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายวุ้นรสชาติทานง่ายที่เพิ่มรสสัมผัสโดยการย่าง
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
"อะจิไซ โนะ สึยุ"
อะจิไซ โนะ สึยุ" เป็นขนมที่มีแรงบันดาลใจมาจากน้ำค้างที่เกาะบนดอกไฮเดรนเยีย ดอกไม้ที่มีสีต่างไปตามแต่ละวัน ทำโดยนำวุ้นใสหั่นเป็นลูกเต๋าจิ๋วและโปรยลงบนขนมคินทน (ขนมที่ทำจากถั่วกวนตกแต่งด้วยถั่วกวนผสมสีต่างๆ) ตกแต่งสีม่วง
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
"ซาวะเบะ"
รายละเอียด: "ซาวาเบะ" เป็นขนมที่มีแรงบันดาลใจมาจากทิวทัศน์ที่เห็นได้บ่อยในช่วงฤดูร้อนที่ญี่ปุ่น คือภาพของต้นไม้ที่เจริญงอกงามริมฝั่งธาร
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
"มินาโมะ"
เป็นขนมที่ถอดแบบจากแสงแดดที่ส่องผ่านต้นไม้สะท้อนลงเป็นวงบนแม่น้ำ ทำโดยการนำขนม "คะรุกัน" (ขนมทำจากแป้งโมจิและมันยามะอิโมะ เนื้อสัมผัสคล้ายโมจิแต่มีเนื้อฟูคล้ายกับหมั่นโถว) มาม้วนเป็นวง เป็นสัญลักษณ์แทนลมที่พัดโชยเหนือผิวแม่น้ำ
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
"บิวะ โนะ มิ"
รายละเอียด: "บิวะ โนะ มิ" เป็นขนมที่มีรูปร่างเหมือนผลโลควอท ผลไม้ที่เห็นได้ทั่วไปและส่งกลิ่นหอมไปทั่วบริเวณตามสวนในช่วงฤดูฝนที่ญี่ปุ่น "บิวะ โนะ มิ"ทำจากการนำ "อุอิโระ" (แผ่นแป้งนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวญี่ปุ่น) มาผสมสีเหลืองและห่อถั่วกวนให้ออกมาเป็นลูก
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
"อะจิไซ"
รายละเอียด: "อะจิไซ" เป็นขนมที่มีที่มาจากดอกไฮเดรนเยียที่จะงดงามที่สุดในเวลามีน้ำฝนเกาะ ทำจากโคชิอัน (ถั่วกวน) แบ่งผสมสามสีและห่อด้วยแป้งคุซึใส
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
"ยูโบะตะรุ"
รายละเอียด: "ยูโบะตะรุ" เป็นขนมที่มีแรงบันดาลใจมาจากการเล่นจับหิ่งห้อยริมลำธารของคนญี่ปุ่นสมัยก่อน ทำโดยการนำวุ้นใสสีเหลืองหั่นเป็นลูกเต๋าจิ๋วและโปรยลงบนขนมคินทน (ขนมที่ทำจากถั่วกวนตกแต่งด้วยถั่วกวนผสมสีต่างๆ) ที่ตกแต่งเป็นสีน้ำตาลเข้มและสีเขียวอ่อน
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
July
"อะระอิโซะ"
รายละเอียด: "อะระอิโซะ" คือ ขนม "คุซึชิโบริ" (ขนมลักษณะคล้ายขนมเปียกปูนใส้ถั่วกวน) ที่มีจุดเด่นคือมีส่วนผสมของน้ำตาลดำหวานหอมเป็นเอกลักษณ์จากจังหวัดโอกินาว่า "อะระอิโซะ" ได้ชื่อมาจากรูปลักษณ์ของขนมที่ทำให้ออกมาดูเหมือนโขดหินขรุขระตามชายฝั่งตั้งตระหง่านท่ามกลางคลื่นพายุโหมกระหน่ำ
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
ควรบริโภคภายใน 2 วันหลังจากที่ซื้อ
"คุซึยากิ"
รายละเอียด: "คุซึยากิ" เป็นขนมที่มีที่มาจากขนมที่เสิร์ฟในพิธีชงชาในสมัยมุโรมาจิ วัตถุดิบที่ใช้ทำขนมนี้คือแป้งคุซึคุณภาพดีจากเมืองโยชิโนะจังหวัดนาระ ออกมาเป็นขนมสี่เหลี่ยมลักษณะคล้ายวุ้นรสชาติทานง่ายที่ถูกย่างทั้งสองด้านเพื่อเพิ่มรสสัมผัส
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
วัตถุดิบหลัก : "ถั่วเหลือง"
ควรบริโภคภายใน 2 วันหลังจากที่ซื้อ
"ซุยจูกะ"
รายละเอียด: "ซุยจูกะ" (ดอกไม้น้ำ) คือดอกไม้พลาสติกที่มักวางขายตามร้านค้าช่วงกลางคืนของเทศกาลฤดูร้อนพร้อมน้ำ เมื่อใส่ลงในแก้วน้ำดอกไม้จะบานออก ไอเท็มนี้จึงเป็นที่นิยมด้วยความสวยงามและโรแมนติกของดอกไม้ที่บานในน้ำ ขนม "ซุยจูกะ" ถอดแบบมาจากดอกไม้ดังกล่าว มีลักษณะเป็นวุ้นใส (คิงเงียวกุกัน) หุ้มล้อมรอบถั่วบด (โคชิอัน) ที่ปั้นเป็นดอกไม้
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
ควรบริโภคภายใน 2 วันหลังจากที่ซื้อ
"อะสะกะโอะ"
รายละเอียด: "อะสะกะโอะ" เป็นขนมที่มีแนวคิดมาจากดอกมอร์นิ่งกลอรีที่จะบานตอนเช้าที่มีแดดอ่อนๆพร้อมน้ำค้างและหุบตอนแดดเริ่มแรงก่อนน้ำค้างจะระเหย แสดงถึงความงามที่อยู่ไม่คงทน ขนมนี้ทำจากการนำแป้งอุอิโระ (แผ่นแป้งนึ่งที่ทำจากแป้งข้าวญี่ปุ่น) ที่เติมสีให้ดูเหมือนดอกมอร์นิ่งกลอรี่ มาห่อโคชิอัน (ถั่วกวน)
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
"สึยุสุซุชิ"
รายละเอียด: "สึยุสุซุชิ" เป็นขนมที่มีแนวคิดมาจากน้ำค้างที่เกาะตามต้นไม้ใบหญ้าในยามเช้าตรู่ช่วงฤดูร้อน เป็นภาพที่มองแล้วให้ความรู้สึกสดชื่น ทำจากการนำวุ้นใส (คิงเงียวกุกัน) มาตัดเป็นสี่เหลี่ยมก้อนเล็กๆและโปรยลงบนขนมคินทน (ขนมที่ทำจากถั่วกวนตกแต่งด้วยถั่วกวนผสมสีต่างๆ) ที่ตกแต่งออกมาคล้ายดอกไม้เล็กๆท่ามกลางทุ่งหญ้าสีเขียวให้ดูเหมือนน้ำค้าง
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
"อะระอิโซะ"
รายละเอียด: "อะระอิโซะ" คือ ขนม "คุซึชิโบริ" (ขนมลักษณะคล้ายขนมเปียกปูนใส้ถั่วกวน) ที่มีจุดเด่นคือมีส่วนผสมของน้ำตาลดำหวานหอมเป็นเอกลักษณ์จากจังหวัดโอกินาว่า "อะระอิโซะ" ได้ชื่อมาจากรูปลักษณ์ของขนมที่ทำให้ออกมาดูเหมือนโขดหินขรุขระตามชายฝั่งตั้งตระหง่านท่ามกลางคลื่นพายุโหมกระหน่ำ
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
ควรบริโภคภายใน 2 วันหลังจากที่ซื้อ
"โยอิมัทสึริ"
รายละเอียด: "โยอิมัทสึริ" เป็นขนมโมจิที่มีหน้าเป็นตัวอักษรคันจิ 祭 (มัทสึริ เทศกาล) ที่ได้แนวคิดจากภาพของ "ดาชิ" (รถแห่) ตกแต่งโคมไฟและพัดกระดาษ ภาพดังกล่าวมักจะเห็นได้ตามงานเทศกาลฤดูร้อนในช่วงกลางคืนทั่วญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
"คุซึมันจู"
รายละเอียด: "คุซึมันจู" คือขนมมันจูทำจากแป้งคุซึเมืองโยชิโนะจังหวัดนาระสอดใส้ด้วยถั่วแดงกวนและห่อด้วยใบไผ่ ด้วยผิวสัมผัสของแป้งที่ใสและให้รสชาติที่เย็น ขนม "คุซึมันจู" จึงเหมาะกับการทานในช่วงฤดูร้อนเพื่อคลายร้อน
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
"อาโอะคาเอะเดะ"
รายละเอียด: "อะโอะคะเอะเดะ" เป็นขนม "โคะนะชิ" (ถั่วกวนผสมกับแป้งและน้ำตาล) ที่ทำออกมาเป็นแป้งสองสีคือขาวและเขียว เพื่อสื่อถึงใบเมเปิ้ลในช่วงฤดูร้อนที่สีจะยิ่งเขียวสดมากขึ้นตามอุณหภูมิที่สูงขึ้น
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
"เซะเซะระกิ"
รายละเอียด: "เซะเซะระกิ" คือขนมที่ได้แนวคิดจากเสียงของธารน้ำไหลและแสงสะท้อนจากดวงอาทิตย์ที่ส่องผ่านต้นไม้ริมธารลงบนผิวน้ำ แสดงผ่านการเรียง "คิงเงียวกุกัน" (วุ้นใส) ไว้บน "อะวะยุกิคัน" (วุ้นไข่ขาว)
ควรบริโภคภายในสองวันจากวันผลิต
August
"คุสึยะกิ อะกะริ"
รายละเอียด: ขนมคุสึยะกินั้น ครั้งสมัยมุโรมาจิเคยเป็นที่ขึ้นชื่อลือลั่นในฐานะขนมคู่เคียงแห่งพิธีชงชา
เป็นขนมที่ให้รสชาติกลมกล่อมหอมหวนจากถั่วแดงคุณภาพสูงจากเมืองโยชิโนะ จังหวัดนารา
ควรบริโภคภายใน: 2 วัน
"อะระอิโสะ" (โขดหิน ณ ริมฝั่ง)
รายละเอียด: ขนมหวานที่ถูกปั้นขึ้นจากแป้งสาคู ผสมด้วยรสของน้ำตาลทรายแดงจากโอกินาวา
เป็นขนมที่ให้ความรู้สึกแข็งแกร่งดั่งโขดหินตั้งตระหง่านท่ามกลางคลื่นลมที่ซัดสาดเข้ามา
ควรบริโภคภายใน: 2 วัน
"ฮิมะวะริ" (ทานตะวัน)
รายละเอียด: ทานตะวันนั้นแหงนเงยมองไปยังฟ้าไกล และเบ่งบานเจิดจ้ารับแสงอาทิตย์อย่างมิหวั่นเกรง
เป็นขนมหวานที่นำถั่วแดงมาม้วนหุ้มด้วยถั่วบดหวานอีกชั้นหนึ่ง
ควรบริโภคภายใน: 2 วัน
"อิวะชิมิสึ" (ธารใสผ่านหินผา)
รายละเอียด: ธารน้ำใสซึ่งไหลผ่านมวลหมู่หินผาในป่าลึกบนหุบเขานั้น เป็นดั่งขุมทรัพย์งามหมดจดที่จะชะล้างทั้งร่างกายและจิตวิญญาณ
จากภาพฝันจินตนาการอันงดงามนั้น สู่ขนมที่สรรค์สร้างขึ้นจากแป้งข้าวสาลีและถั่วแดงเม็ดโต
ควรบริโภคภายใน: 2 วัน
"ซุยฟุโยว" (ดอกชบา)
รายละเอียด: ดอกไม้นาม ซุยฟุโยว นั้น เมื่อเริ่มแรกวันจะมีสีอ่อน และพลันแดงฉานขึ้นตามกาลเวลา จนในที่สุดก็เหี่ยวเฉาโรยราเมื่อหมดวัน
ขนมหวานชิ้นนี้ ถูกสรรค์สร้างขึ้นจากความประทับใจอันตราตรึงของดอกไม้เช่นนั้น
วัตถุดิบพิเศษ: แป้งข้าวสาลี
ควรบริโภคภายใน: 2 วัน
"คุสึมันจู"
รายละเอียด: "คุสึมันจู" เป็นขนมมันจูทำจากแป้งสาคูจากเมืองโยชิโนะ จังหวัดนารา นำมาสอดไส้ถั่วแดงกวนและห่อด้วยใบไผ่
มีส่วนผสมของ: แป้งสาลี
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
"ฮะกิ โนะ ทสึยุ" (หยาดน้ำค้างบนวนารมย์)
รายละเอียด: ฮะกิ หรือดอกวนารมย์นั้นจะเริ่มผลิดอกเมื่อฤดูใบไม้ร่วงเริ่มย่างกรายเข้ามา จึงนับว่าเป็นดอกไม้แห่งฤดูนี้อย่างแท้จริง
ขนมหวานนี้ได้นำวุ้นใสมาโรยบนขนมคินทง (ขนมที่ทำจากถั่วกวนตกแต่งด้วยถั่วกวนผสมสีต่างๆ) ก่อกำเนิดเป็นภาพคล้ายหยาดน้ำค้างหยดลงเกาะกุมบุปผาก็ไม่ปาน
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
"โยย โนะ ทสึคิ" (ดวงจันทร์ยามสนธยา)
รายละเอียด: โยย โนะ ทสึคิ เป็นขนมคุสึ (ขนมลักษณะคล้ายขนมเปียกปูนใส้ถั่วกวน) ปรุงรสน้ำตาลทรายแดง สอดไส้ด้วยถั่วแดงสีเหลืองทอง ราวกับดวงจันทราอันงดงามเป็นหนึ่งเดียวที่ทอประกายบนท้องฟ้ายามค่ำคืนในฤดูใบไม้ร่วง
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
"ฮานะฟุโยว" (ดอกพุตตาน)
รายละเอียด: ดอกไม้นาม ฮานุฟุโยว นั้นถูกเรียกขานในฐานะ ราชินีแห่งฤดูใบไม้ร่วง เนื่องด้วยความงดงามและเปราะบางง่ายต่อการโรยรา
แรงบันดาลใจจากดอกไม้เช่นนั้น ก่อให้เกิดเป็นขนมห่อถั่วแดงรสชาติละเมียดละไม ยากจะหาอะไรมาทัดเทียม
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
"อะคิทสึ" (แมลงปอ)
รายละเอียด: ภาพแมลงปอโบยบินตัดผ่านอาทิตย์อัสดงนั้น เป็นดั่งสัญญาณบ่งบอกว่าฤดูใบไม้ร่วงได้ย่างกรายเข้ามาถึง
อะคิทสึ นี้คือขนมคะรุคัง (ซาลาเปารสหวาน) สอดไส้ถั่วแดงขาว ที่ให้ความรู้สึกถึงฤดูใบไม้ร่วงอันเงียบสงัดเช่นนั้น
วัตถุดิบพิเศษ: แยมญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
September
"คุริคินทง" (ขนมคินทงทำจากเกาลัด)
รายละเอียด: ขนมหวานชิ้นนี้เป็นการนำเกาลัดบดมาหุ้มรอบถั่วแดงญี่ปุ่น ก่อให้เกิดเป็นรสชาติที่เหมาะแก่การรับประทานในฤดูใบไม้ร่วงเป็นอย่างยิ่ง
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
"เอมิกุริ" (เกาลัดยิ้มระเริง)
รายละเอียด: ความหนาวเย็นของฤดูใบไม้ร่วงบีบให้เปลือกของลูกเกาลัดนั้นแตกออก และร่วงหล่นลงจากต้น
เอมิกุรินี้ เป็นขนมที่นำเอาถั่วแดงปั้นผสมเกาลัดมาเคลือบด้วยแป้งโมจิบางๆ ดั่งลูกเกาลัดที่ถูกความหนาวเหน็บของฤดูใบไม้ร่วงเข้าเกาะกุม
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
"คิเสะวะตะ" (ดอกเก๊กฮวยใต้ใยไหม)
รายละเอียด: ในวันที่ 9 กันยายน อันเป็นวันเฉลิมฉลองเทศกาลโชโยนั้น คนโบราณมักจะมีประเพณีการชำระร่างกายด้วยผ้าไหมหุ้มดอกเก๊กฮวยที่ผ่านน้ำค้างแรกของวัน เพื่อเป็นการขอพรถึงอายุอันยืนยาว
ขนมหวานชิ้นนี้ได้สรรค์สร้างภาพของประเพณีนั้นขึ้นจากการนำเอา ถั่วหวานบด แป้งสาลี และน้ำตาล มาขึ้นรูปเป็นดอกเก๊กฮวย และราดด้วยแยมญี่ปุ่นสูตรต้นตำรับ
มีส่วนผสมของ: แป้งสาลี, “Japanese yam”
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
"โฮนะมิ" (รวงข้าวปลิวไหวกลางสายลม)
รายละเอียด: ภาพรวงข้าวสีทองปลิวไสวท่ามกลางสายลมโชยนั้น เป็นภาพที่สื่อถึงญี่ปุ่นในยุคก่อนและการย่างเข้ามาของฤดูใบไม้ร่วงได้เป็นอย่างดี
ขนมชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจดังกล่าว และได้นำเอา คะรุคัง(ซาลาเปาหวาน) และ มุชิโยะคัง (เยลลี ทำจากถั่วแดงต้ม) มารวมกันเพื่อแสดงถึงภาพทิวทัศน์อันน่าอภิรมย์นั้น
มีส่วนผสมของ: แป้งสาลี, “Japanese yam”
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
"อะคิ โนะ เนะ" (เสียงเพรียกแห่งฤดูใบไม้ร่วง)
รายละเอียด: อากาศอันปลอดโปร่ง เสียงเหล่าแมลงกู่ก้องร้องตามต้นไม้ เสียงสัมผัสของสายลม เหล่านี้เองที่ทำให้เหล่าผู้คนได้สัมผัสถึงฤดูใบไม้ร่วง ที่เพิ่งจะย่างกรายเข้ามา
ขนมชิ้นนี้ได้นำเอาแป้งกวนหวานมาห่อเข้ากับถั่วแดงบด และประดับด้วยเมล็ดงาดำ อันจะสื่อถึงแมลงที่ส่งเสียงร้องในฤดูใบไม้ร่วง
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
"คุริคินทง" (ขนมคินทงทำจากเกาลัด)
รายละเอียด: ขนมหวานชิ้นนี้เป็นการนำเกาลัดบดมาหุ้มรอบถั่วแดงญี่ปุ่น ก่อให้เกิดเป็นรสชาติที่เหมาะแก่การรับประทานในฤดูใบไม้ร่วงเป็นอย่างยิ่ง
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
"มันจุกิคุ" (ดอกหญ้ากลางฤดูใบไม้ร่วง)
รายละเอียด: ในช่วงงานเทศกาลโชโยนั้น เหล่าผู้คนสามารถชื่นชมความงามของดอกดาวเรืองไปพร้อมกับการอธิษฐานขอพรถึงชีวิตอันยืนยาว
ด้วยแรงบันดาลใจจากดอกดาวเรือง ก่อให้เกิดเป็นการนำถั่วบดหวาน แป้งสาลี และน้ำตาล มาขึ้นรูปเป็นดอกดาวเรือง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความอายุยืน
ควรบริโภคภายใน: 2 วัน
"โคะโบะเระฮะกิ" (วรารมย์ที่ร่วงโรย)
รายละเอียด: ครั้งเมื่อต้นฤดูใบไม้ร่วงนั้น ฮะกิ หรือดอกวรารมย์จะเริ่มผลิดอกขึ้นแย้มบ้าน หากเมื่อวานผ่านไป ในใจกลางของฤดูใบไมร่วง ฮะกินี้กลับเริ่มสีซีดเผือด และโรยรา
โคะโบะเระฮะกินี้ นำเอาแป้งหวานสีซีดมาห่อเข้ากับถั่วแดง เพื่อสื่อถึงดอกฮะกิที่ซีดเซียวไปตามกาลเวลานั้น
ควรบริโภคภายใน: 2 วัน
"มุซาชิโนะ"
รายละเอียด: มุซาชิโนะนั้น คือสถานที่อันลือชื่อในด้านทิวทัศน์อันงดงามของมวลพฤกษาและจันทรายามฤดูใบไม้ร่วง มาตั้งแต่กาลก่อน
เพื่อสื่อถึงทิวทัศน์อันหมดจดเช่นนั้น
ขนมชิ้นนี้ได้ทำการสลักเสลาภาพของต้นหญ้าลงบนตัวขนม ซึ่งสอดไส้ด้วยถั่วแดงญี่ปุ่น
วัตถุดิบพิเศษ: แยมญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน: 2 วัน
"อะคิคุสะ" (ดอกหญ้ากลางฤดูใบไม้ร่วง)
รายละเอียด: เหล่าดอกหญ้าล้วนกลับกลายเปลี่ยนสีไป แปรผันตามวันเวลาของฤดูใบไม้ร่วงที่เปลี่ยนผ่าน
ขนมหวานชิ้นนี้เป็นการนำเอาแป้งวะระบิมาห่อถั่วแดงบดและเกาลัด
ควรบริโภคภายใน: 2 วัน
October
"คุริคินทง" (เกาลัดกวนแล้วนำมาปั้นเป็นก้อน)
รายละเอียด : "คุริคินทง" ทำจากการนำเกาลัดมาบดและนำมาบีบตกแต่งลงบนโคะชิอัน (ถั่วแดงกวน) อาจกล่าวได้ว่าขนมนี้คือสัญญาณแห่งการมาเยือนของฤดูใบไม้ร่วง
ควรบริโภคภายใน 2 วันหลังจากที่ซื้อ
"มิยะมะ โนะ อะกิ" (ฤดูใบไม้ร่วงในป่าเขา)
รายละเอียด : "มิยะมะ โนะ อะกิ"ทำโดยการนำแป้งข้าวโมจิที่แต่งรสด้วยน้ำตาลดำมาห่อถั่วแดงกวน แล้วนำแป้งเนะริโจโยอัน (แป้งที่ทำจากมันโจโยของญี่ปุ่น)ที่ทำเป็นฝอยมาโรยตกแต่งข้างบน ขนมนี้จึงมีการแสดงถึงสีสันของฤดูใบไม้ผลิ
มีส่วนผสมของ: มันยามะอิโมะ
ควรบริโภคภายใน 2 วันหลังจากที่ซื้อ
"โคริงกิกุ""
รายละเอียด : "โอะริเบะ-โจโยะ" คือชื่อเรียกลักษณะของขนมลักษณะคล้ายขนมโมจิที่มีผิวเป็นสีขาวและแต้มด้วยจุดสีเขียวสด สำหรับ "โคริงกิกุ" "โอะริเบะ-โจโยะ" นี้แสดงถึงภาพดอกเบญจมาศที่วาดโดยศิลปินดังสมัยเก็นโระคุชื่อ "โอะกะตะ โคริน"
มีส่วนผสมของ: แป้งสาลี มันยามะอิโมะ ถั่วเหลือง
ควรบริโภคภายใน 2 วันหลังจากที่ซื้อ
"รันกิกุ" (ดอกเบญจมาศ)
รายละเอียด : ขนมรูปร่างคล้ายดอกเบญจมาศที่กลีบดอกเรียวยาวกำลังบานไปในหลายทิศทาง ทำจากการนำแป้งโคะนะชิมาหุ้มโคะชิอัน (ถั่วแดงกวน) แล้วตัดแต่งเป็นรูปให้สวยงาม
มีส่วนผสมของ: แป้งสาลี
ควรบริโภคภายใน 2 วันหลังจากที่ซื้อ
"ยะมะจิ โนะ นิชิกิ" (ภูเขาในช่วงฤดูใบไม้ผลิ)
รายละเอียด : ขนมนี้แสดงถึงทิวทัศน์ของใบไม้เปลี่ยนสีในช่วงฤดูใบร่วง ขนมนี้มีการผสมที่แปลกใหม่แต่ลงตัวของวุ้นกับแป้งคล้ายหมั่นโถว
มีส่วนผสมของ: แป้งสาลี มันยามะอิโมะ
มีส่วนผสมของ: แป้งสาลี มันยามะอิโมะ
ควรบริโภคภายใน 2 วันหลังจากที่ซื้อ
"คุริคินทง" (เกาลัดกวนแล้วนำมาปั้นเป็นก้อน)
รายละเอียด : "คุริคินทง" ทำจากการนำเกาลัดมาบดและนำมาบีบตกแต่งลงบนโคะชิอัน (ถั่วแดงกวน) อาจกล่าวได้ว่าขนมนี้คือสัญญาณแห่งการมาเยือนของฤดูใบไม้ร่วง
ควรบริโภคภายใน 2 วันหลังจากที่ซื้อ
"สะโอะชิกะ" (กวางหนุ่ม)
รายละเอียด : บทกวีญี่ปุ่นสมัยก่อนมักกล่าวถึงภาพของกวางหนุ่มที่ร้องหาผู้เป็นที่รักท่ามกลางบรรยากาศอันแสนหงอยเหงากลางเหล่าพันธุ์ไม้ในฤดูใบไม้ผลิ บรรยากาศนั้นถูกถ่ายทอดผ่านผงวะระบิและรูปกวางบนหน้าขนม
ควรบริโภคภายใน 2 วันหลังจากที่ซื้อ
"คะระ นิชิกิ" (ลายภาพชั้นสูงของจีน)
รายละเอียด : "คะระโชโซะกุ" คือชื่อชุดในสมัยโบราณที่จะใส่ในโอกาสพิเศษของชีวิตซึ่งมีลวดลายสวยงามเปรียบเสมือนสีสันในฤดูใบไม้ผลิ แป้งโคะนะชินำไปห่อถั่วกวนที่ปั้นเป็นก้อนแล้วใช้ไม้อัดให้เป็นรูปใบไม้ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง
มีส่วนผสมของ: แป้งสาลี
ควรบริโภคภายใน 2 วันหลังจากที่ซื้อ
"อุสึ โมะมิจิ" (ใบไม้ร่วงสีอ่อน)
รายละเอียด : ลูกพลับแห้งที่ผสมไปกับแป้งของหมั่นโถวแสดงถึงสีสันของทิวทัศน์ในฤดูใบไม้ร่วงที่เปลี่ยนแปลงอย่างสวยงามตลอดฤดู
ีส่วนผสมของ: มันยามะอิโมะ
มีส่วนผสมของ: มันยามะอิโมะ
ควรบริโภคภายใน 2 วันหลังจากที่ซื้อ
"ยะมะ โยะโสะโอะอุ" (ธรรมชาติบนภูเขา)
รายละเอียด : เมื่อฤดูผันเปลี่ยนทิวทัศน์บนภูเขาก็เปลี่ยนไปเช่นกัน "ยะมะ โยะโสะโอะอุ" ทำโดยการนำแป้งข้าวโมจิมาห่อถั่วกวน แล้วตกแต่งด้วยแป้งสีเหลือง แดง และเขียวที่ทำเป็นฝอยโรยตกแต่ง เพื่อถ่ายทอดถึงทิวทัศน์ของภูเขาในฤดูใบไม้ร่วง
มีส่วนผสมของ: ไข่ มันยามะอิโมะ
ควรบริโภคภายใน 2 วันหลังจากที่ซื้อ
November
“คินชู”
รายละเอียด :
ภูเขาที่มีกลิ่นไอแห่งฤดูใบไม้ร่วงมีความสวยงามเสมือนความวิจิตรบนผ้าปักญี่ปุ่น"คินชู"
ทำมาจากถั่วที่นำมาบดอย่างหยาบที่นำมาปั้นเป็นก้อนและหุ้มด้วยถั่วที่บดละเอียดอีกชั้น
ควรบริโภคภายใน : 2 วัน
“โคโระ กาคิ ” (ลูกพลับ)
รายละเอียด :
ลูกพลับอบแห้งที่ห้อยลงมาจากขอบหลังคากระท้อมค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีขาวในฤดูนี้ทำให้มีรสชาติหวานมากขึ้น”โคโระ กาคิ" ทำมาจากลูกพลับแห้งผสมกับถั่วแดงอบคลุมด้วยแป้งเวเฟอร์
มีส่วนประกอบของ : ไข่
ควรบริโภคภายใน : 2 วัน
“คาซาเนะ โมมิจิ” (ใบไม้แดงซ้อนกัน)
รายละเอียด:
ท่านกลางบรรยากาศของฤดูใบไม้ร่วง ใบไม้ที่เริ่มก่อตัวทับกันเป็นกองทำให้เกิดภาพที่สวยงามที่ตราตรึงมากขึ้นทุกวัน
"คาซาเนะ โมมิจิ" คือลูกบอลของถั่วแดงบดที่นุ่มมากจนสามารถใช้มือปั้นและกดให้เป็นรูปของใบไม้แดงได้
มีส่วนประกอบของ : แป้ง
ควรบริโภคภายใน : 2 วัน
“เมโอโตะ จิกะ” (กวางแต่งงาน)
รายละเอียด :
เหล่ากวางกำลังส่งเสียงถึงคู่ของมันท่ามกลางสีสันแห่งฤดูใบไม้ร่วง ฤดูใบไม้ร่วงมักถูกใช้เป็นแรงบันดาลใจในการแต่งบทกวีของชาวญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยโบราณ
น้ำตาลได้ถูกใช้เพื่อแต่งเติมภาพของคู่รักกวางบน "เมโอโตะ จิกะ"
ควรบริโภคภายใน : 2 วัน
“โอโตเมะ กิคุ” (ดอกไม้แย้มสีชมพู)
รายละเอียด: แยมญี่ปุ่นสีชมพูเสมืองความสวยงามของดอกไม้ที่กำลังผลิ
บานมีส่วนประกอบของ : แยมญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน : 2 วัน
“โมมิจิ โนะ กะ” (ใบไม้แดง)
"เนริจิโจ โยอัน" คือมันฝรั่งบดที่ทำมาจากมันฝรั่งโจโยบนถั่วแดงบดผสมงา งภาพการเฉลิมฉลองใต้ต้นไม้ที่สะพรั่งไปด้วยสีสันของฤดูใบไม้ร่วง
มีส่วนประกอบของ : แยมญี่ปุ่น งา
ควรบริโภคภายใน: 2 วัน
“โคโร คากิ” (ลูกพลับแห้ง)
การนำลูกพลับที่แกะเปลือกแล้วด้วยการตากกับลมจากทิศเหนืทำให้รสเปรี้ยวหายไปแล้วนำรสหวานออกมา
"โคโร คากิ" ทำมาจากการนำลูกพลับแห้งผสมกับถั่วแดงบดอบและหุ้มด้วยแป้งเวเฟอร์อีกชั้น
ควรบริโภคภายใน : 2 วัน
“มิยามาจิ ” (ภูเขาใต้สีของฤดูใบไม้ร่วง)
“คารุคัน” (ถั่วแดงอบทำมาจากแยมและแป้งข้าว)
หุ้มด้วยถั่วแดงทำให้เห็นภายที่สวยงามขอสีสันตามทางบนภูเขา
รายละเอียด : แยมญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน : 2วัน
“ฮัตสึ ชิโมะ” (เกล็ดน้ำแข็งแรก)
เมื่อย่างเข้าไปในท้ายฤดูใบไม้ร่วง
เกล็ดน้ำแข็งจะเริ่มปรากฎยามพระอาทิตขึ้น
ถั่วบดในน้ำจากถั่วแดงบด ตกแต่งด้วย "โคริ โมจิ" (โมจิตากแห้ง)
สัญลักษณ์แห่งการมาเยือนของฤดูหนาว
ควรบริโภคภายใน : 2 วัน
“ชิริ อิจิโย ” (ใบไม้สีทอง)
ภายในสีสันมากมายของฤดูใบไม้ร่วง
สีที่โดดเด่นที่สุดคือสีทองของต้นแปะก๊วย เมื่อร่วงลงที่พื้นจึงก่อให้เกิดภาพที่สวยงาม"จิริ อิจิโย"
ทำมาจากการพับเยลลี่แป้งรอบถั่วแดงที่บดหยาบๆ
มีส่วนประกอบของ : แป้ง
ควรบริโภคภายใน : 2 วัน
December
ยูสุโมจิ (เค้กมะงั่ว)
แม้กระทั่งปัจจุบันนี้
ธรรมเนียมการกินฟักทอง และอาบน้ำมะงั่ว เพื่อพลานามัยที่แข็งแรงของเด็กๆในฤดูหนาว ก็ยังคงหลงเหลือตกทอดสืบต่อกันมา
"ยูสุโมจิ" นี้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากถั่วอบหวานซึ่งถูกพันด้วยมะงั่วปรุงกลิ่น "โดเมียวจิ" (แป้งผิวหยาบ)ก่อนที่จะถูกนำมาขึ้นรูปให้มีลักษณะคล้ายมะงั่ว
ส่วนประกอบสำคัญ: แป้ง, ถั่วเหลือง
ควรบริโภคภายใน: 2วัน
โซโยว
เหล่าพฤกษาสีแดงฉานจัดจ้าน บ้างเหลือง บ้างส้ม เรียงรายร้อยในป่าใหญ่นั้น
ยามเมื่อความเหน็บหนาวเข้าเกาะกุมไซร้จักแลดูงามงดหมดจดเสียยิ่งกว่าบุปผาใดในโลกา
"เนริโจ โยอัน" (แยมมันฝรั่ง) ที่ถูกสร้างขึ้นจากมันฝรั่งโจโยนั้น ได้ถูกนำมาประดับรอบก้อนถั่วหวานราวเกล็ดหิมะหนาวเหน็บเข้ากุมเกาะ อันจะสื่อให้เห็นถึงความสวยงามแห่งเหมันตฤดู
ส่วนประกอบสำคัญ: แยมญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน: 2วัน
ซาซันกะ
ดอกซาซันกะซึ่งเบ่งบานภายใต้ท้องฟ้าปลายฤดูใบไม้ร่วง
ขนมเค้กแป้งไส้ถั่วหวานและถั่วขาวอบ แต่งหน้าด้วย "เนริโจ โยอัน" (แยมมันฝรั่ง ทำจากมันฝรั่งโจโย)
ซึ่งถูกขึ้นรูปให้มีลักษณะคล้ายดอกซาซันกะ
ส่วนประกอบสำคัญ: ไข่, แยมญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
ซุยเซ็นกะ (ดอกนาร์ซิสซัส)
กลีบขาวงามแลเกสรเหลืองอ่อนแห่งดอกนาร์ซิสซัสนั้น เบ่งบานท้าทายความหนาวเหน็บแห่งเหมันตฤดู
แยมถั่วหวานอบพันด้วย "โคนาชิ" (ถั่วอบปั้นมือ) ซึ่งถูกขึ้นรูปให้มีลักษณะของดอกไม้
ส่วนประกอบสำคัญ: แป้ง, แยมญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
"ฟูยุ โนะ อิโอริ" (อาศรมฤดูหนาว)
ภาพทิวทัศน์ของกระท่อมยามฤดูใบไม้ร่วงอัรงดงามนั้น บัดนี้กำลังจะถูกแปรเปลี่ยนไปด้วยความเหน็บหนาวแห่งเหมันตฤดู
แป้งวาราบิโมจิยัดไส้ถั่วหวานบด อันสื่อให้เห็นถึง "วาบิ" (ความงามงดอันเรียบง่าย) ของฤดูกาลซึ่งกำลังผันแปร
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
ยูสุโมจิ (เค้กมะงั่ว)
แม้กระทั่งปัจจุบันนี้
ธรรมเนียมการกินฟักทอง และอาบน้ำมะงั่ว เพื่อพลานามัยที่แข็งแรงของเด็กๆในฤดูหนาว
ก็ยังคงหลงเหลือตกทอดสืบต่อกันมา
"ยูสุโมจิ" นี้ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากถั่วอบหวานซึ่งถูกพันด้วยมะงั่วปรุงกลิ่น "โดเมียวจิ" (แป้งผิวหยาบ)ก่อนที่จะถูกนำมาขึ้นรูปให้มีลักษณะคล้ายมะงั่ว
ส่วนประกอบสำคัญ: แป้ง, ถั่วเหลือง
ควรบริโภคภายใน: 2วัน
"ฟูยุ งาเระ" (เหมันต์อันแห้งเหี่ยว)
ภาพแห่งเหมันต์อันเต็มไปด้วยพฤกษาอันเหี่ยวแห้ง และสิ่งระงมของเหล่าแมลงที่ใกล้ดับสูญ
แยมถั่วหวานและงาดำสื่อให้เห็นถึงความหนาวเหน็บที่ถูกพัดพามาพร้อมกับสายลมเหนือ
ส่วนประกอบสำคัญ: งา
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
"ฟูยุ ทสึบากิ" (คาเมลเลียฤดูหนาว)
โบราณนานมา กล่าวกันว่าดอกคาเมลเลียคือดอกไม้ที่เบ่งบานในฤดูใบไม้ผลิ
ดอกไม้คาเมลเลียซึ่งบานสะพรั่งยามต้นฤดูหนาวนั้น ถูกนำมาเป็นแรงบันดาลใจสรรค์สร้างขนมจาก ข้าวหวานหุ้มด้วยถั่วหวานบด
ส่วนประกอบสำคัญ: แป้ง
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
"ยูคิ โนะ ฮานะ" (บุปผาหิมะ)
โบราณนานมา กล่าวกันว่าหิมะเปรียบดั่งฤกษ์งามยามดี บ่งชี้ถึงฤดูกาลเก็บเกี่ยวอันอุดมสมบูรณ์ในไม่นาน
แป้งถั่วสีชมพูอ่อน พันรอบ"เนริโจโยอัน" (แยมมันฝรั่ง ทำจากมันฝรั่งโจโย)
ก่อนจะนำมาประดับตกแต่งด้วยเงาร่างของเกล็ดหิมะเล็กๆเพื่อเพิ่มความงดงาม
ส่วนประกอบสำคัญ: แป้ง, แยมญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน 2 วัน
"วาระ สุโตะ"
ดอกโบตั๋นนั้น มักเบ่งบานกลางฤดูหนาว เพียงไม่นานก่อนฤดูใบ้ไม้ผลิจะย่างกรายมาถึง
ถั่วหวานอบซึ่งถูกห่อหุ้มด้วยแยมแข็งสีชมพูอ่อน สื่อให้เห็นถึงดอกโบตั๋นที่เบ่งบานใน "วาระ กะโคอิ" (ซุ้มทำจากฟางข้าว ใช้ปกป้องพืชจากความเย็นยามฤดูหนาว)
ส่วนประกอบสำคัญ: แยมญี่ปุ่น
ควรบริโภคภายใน 2 วัน