| กองบรรณาธิการCentrip

ระหว่างรอตัวปราสาทเปิดอีกครั้ง ก็มาแวะชม”ที่นี่”ในปราสาทนาโกย่ากันก่อนได้นะ : คู่มือแนะนำพระราชสำนักฮมมะรุแบบสมบูรณ์

หากพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวในนาโกย่า เชื่อว่าหลายคนคงจะนึกถึงปราสาทนาโกย่า ส่วน”เท็นชุคะคุ”ของปราสาทนาโกย่านั้นปิดตั้งแต่ปี 2018 เพื่อบูรณะโครงสร้างไม้ของตัวปราสาทใหม่ แต่ส่วน”พระราชสำนักฮมมะรุ”ที่หรูหราโอ่อ่านั้นยังรอให้ทุกคนเข้ามาแวะชมอยู่นะ

ในครั้งนี้ Centrip จะขอแนะนำรายละเอียดและไฮไลท์สำคัญเกี่ยวกับ”พระราชสำนักฮมมะรุ” ขอบอกไว้เลยว่าแค่บทความนี้บทความเดียวจะทำให้ท่านได้สัมผัสกับพระราชสำนักฮมมะรุอย่างลึกซึ้ง อีกทั้งยังจะไม่พลาดไฮไลท์เด็ดอีกด้วย ! ในท้ายบทความเราจะแนะนำบริการนำเที่ยวพระราชสำนักฮมมะรุในภาษาต่าง ๆ

อดีตปัจจุบันและอนาคตของพระราชสำนักฮมมะรุ

ปี ค.ศ. 1615 โทะคุกะวะ โยะชินะโอะบุตรชายคนที่ 9 ของโทะคุกะวะ อิเอะยะสุได้สร้างพระราชสำนักฮมมะรุขึ้นมาเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของครอบครัว 5ปีต่อมา
โยะชินะโอะและครอบครัวได้ย้ายไปอาศัยที่นิโนะมะรุพระราชสำนักและเปลี่ยนพระราชสำนักฮมมะรุให้เป็นสถานที่สำหรับโชกุน มีเพียงโทะคุกะวะ อิเอะยะสุเท่านั้นที่ยังอาศัยอยู่ในพระราชสำนักฮมมะรุ ที่นี่ถูกปิดเกือบตลอดเวลากว่าหลายร้อยปี หลังการปฏิรูปในยุคเมจิ ปราสาทนาโกย่าถูกย้ายไปยังสำนักพระราชวังญี่ปุ่น และถูกเรียกว่า “นาโกย่าริคิว”(แปลว่า ปราสาทนาโกย่าที่ถูกแยกมา” ในปี ค.ศ. 1930 ได้ถูกตั้งให้เป็นสมบัติของชาติรุ่นแรกซึ่งเป็นที่เห็นด้วยอย่างมากจากผู้คนในนาโกย่า
ที่พระราชสำนักฮมมะรุถูกประดับไปด้วยภาพจิตรกรรมฝาผนังจากสำนักคะโนฮะ(สำนักจิตรกรรมชื่อดังในอดีต) ของตกแต่งที่ทำจากทองที่สลักชื่อของ เรียกได้ว่าเป็นการฝากผลงานทางสถาปัตยกรรม,จิตรกรรม,และประวัติความเป็นมาของศิลปะไว้กับที่นี่

หากพูดถึงปราสาทของญี่ปุ่น หลายคนอาจจะนึกถึงภาพของตัวปราสาทแบบสูง ๆ หรือที่เรียกว่า”เท็นชุกะคุ”ขึ้นมา แต่ความจริงแล้ว ทั้งตัวปราสาทสูง และฮมมารุพระราชสำนักถือเป็นเพียง”ส่วนหนึ่ง”ของปราสาทเท่านั้น “เท็นชุโคะคุ”มีไว้ใช้ในเรื่องของการทหารและ”พระราชสำนักฮมมะรุ”มีไว้สำหรับอยู่อาศัย สำหรับชื่อก็จะมีความแตกต่างกันไป โดยชื่อหลักจะเป็น “พระราชสำนัก”อย่าง “พระราชสำนักฮมมะรุ”นั้น ถูกตั้งขึ้นเพราะถูกตั้งอยู่ในส่วนกลางของพื้นที่ปราสาท(ฮมมะรุแปลว่ากึ่งกลาง” จึงเป็นที่มาของชื่อนี้นั่นเอง

แต่ในปีค.ศ. 1945 ปราสาทที่สวยงามของนาโกย่านี้ถูกโจมตีทางอากาศจนทำให้เท็นชุโกะคุและพระราชสำนักฮมมะรุถูกเผาไหม้ไปในกองเพลิงจนหมดสิ้น แต่ในความโชคร้ายยังมีความโชคดี เพราะสิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่คือผังปราสาทและรูปถ่ายในสมัยโชวะตอนต้น นอกจากนี้รูปวาดฝาผนังได้ถูกแยกไปเก็บรักษาก่อนที่จะถูกโจมตีทางอากาศ ในปีค.ศ. 2009 นาโกย่าได้ทำการสร้างพระราชสำนักฮมมะรุขึ้นมาอีกครั้ง ใช้เวลาสร้างทั้งสิ้น 9 ปีครึ่ง และสร้างเสร็จในปี ค.ศ.2018
ด้วยความโชคดีที่หลักฐานสำคัญต่อการสร้างยังหลงเหลือ จึงทำให้ทุกอย่างออกมาเสร็จสมบูรณ์ ทั้งภายนอกของพระราชสำนักฮมมะรุไปจนถึงรายละเอียดเล็ก ๆ เท่ากับว่าพระราชสำนักฮมมะรุที่เราเห็นกันอยู่นี้แทบจะเป็นพระราชสำนักฮมมะรุที่ทะคุกะวะอิเอะยะสุเห็นเมื่อ 400 ปีก่อนเลยทีเดียว

พระราชสำนักฮมมะรุ เริ่มจากตรงนี้ !

พระราชสำนักฮมมะรุสร้างขึ้นจากไม้สนฮิโนะคิ ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีการสร้างห้องแบบญี่ปุ่นที่สมบูรณ์แบบในญี่ปุ่น
ในส่วนของ“โชะอิงซึคุริ”หรือห้องแบบญี่ปุ่นนั้น ใช้เวลาสร้างตั้งแต่ยุคมุโระมะจิจนถึงช่วงต้นของยุคเอโดะจนได้สถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบ จุดเด่นคือการให้ความสำคัญไปที่การสร้างในส่วนห้องรับแขกนั้นเอง ต่อไปเราจะพูดถึงพื้นที่ในห้องซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ในพระราชสำนักฮมมะรุ

โซนโอะโมะเทะโชะอิง: แขกจากทุกทิศมาที่นี่เพื่อมาชมความสง่างามของผู้ครองแคว้น

ส่วนโอะโมะเทะโชะอิงนั้นประกอบไปด้วย ห้องนะคะโนะคุจิ , ทะมะริโนะมะ ,เก็งคัง(ส่วนของทางเดินในอาคาร) และโอะโมะเทะโชอิง ที่นี่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรับรองแขกที่จะมาเข้าพบผู้ครองแคว้น ขอบอกว่าไฮไลท์เด็ดๆอยู่ที่เก็งคังและโอะโมะเทะโชะอิง

ห้องนะคะโนะคุจิ:ห้องที่เหล่าหัวหน้าคนใช้มารวมตัวกัน

ทันทีที่เข้ามาในพระราชสำนักฮมมะรุ ท่านจะได้เจอห้องนะคะโนะคุจิเป็นอันดับแรก และในตอนที่เข้าไปนั้นจะได้กลิ่นหอมของไม้สนฮิโนะคิลอยมาปะทะหน้า
ในสมัยก่อนที่นี่ถูกใช้เป็นที่รวมตัวของหัวหน้าคนใช้ ในปัจจุบันกลายเป็นทางเข้าออก รวมไปถึงชั้นวางรองเท้า ตู้ล็อกเกอร์เก็บสำภาระแบบไม่เสียค่าบริการ รวมไปถึงโต๊ะประชาสัมพันธ์และบริการเครื่องแปลภาษาสำหรับการเยี่ยมชม เมื่อเข้ามาที่นี่ก็เอาของไปเก็บในล็อกเกอร์ให้เรียบร้อยแล้วเข้าไปลุยฮมมะรุโกเต็งกัน !

Tips:ถ้าลองเข้าไปคุยกับพนักงานที่โต๊ะประชาสัมพันธ์ล่ะก็ พนักงานจะเอาตัวอย่างตะปูที่ใช้จริงในการสร้างพระราชสำนักฮมมะรุมาให้คุณดู

เก็งคัง:สถานที่สำหรับรอแขก

ในอดีต สถานที่ที่แขกผู้มาเยือนต้องเดินผ่านก่อนเข้าไปในส่วนข้างในนั้นคือ”เก็งคัง” ถือเป็นประตูทางเข้าออกหลัก

จริง ๆ แล้วมีเรื่องตลกอยู่นิดหน่อย ถ้าสังเกตุดูดี ๆ ในภาพมีเสืออยู่ 2 ชนิดคือเสือโคร่งกับเสือดาว แต่ในตอนแรกเหมือนว่าภาพนี้ไม่ได้ตั้งใจให้ออกมาเป็นแบบนี้ เพราะในตอนนั้นในญี่ปุ่นไม่มีเสือโคร่ง จิตรกรจึงวาดขึ้นจากภาพศิลปะและคำบอกเล่าของจีนและเกาหลี ด้วยเหตุนี้คนญี่ปุ่นในตอนนั้นจึงเข้าใจผิดว่าเสือดาวคือเสือโคร่งเพศเมีย ภาพจิคุริงเฮียวโกะจึงเป็นภาพครอบครัวเสือโคร่งสุขสันต์นั่นเอง

Tips1: ภาพประวัติศาสตร์ของจริงที่มีอายุกว่า 400 ปี อย่าง”ภาพวาดจิคุริงเฮียวโกะ”นั้น จะเปิดให้ชมเป็นนิทรรศการพิเศษที่ไม่มีกำหนดการที่ตายตัว โดยจะนำภาพไปใส่ไว้ ณ ตำแหน่งเดิมกับที่เคยตั้งในอดีต หากต้องการชมภาพของจริงล่ะก็ แนะนำให้ท่านเช็คช่วงเวลาของนิทรรศการพิเศษก่อนมาที่นี่

Tips2: ทางเดินใหญ่เป็นทางเชื่อระหว่างเก็งคังและโอะโมะเทะโชะอิง ไม้สนฮิโนะคิที่ใช้ที่นี่มีความกว้างถึง 30 เซนติเมตร ถือว่าใหญ่ที่สุดในนี้ ว่ากันว่าราคาไม้ 1 แผ่นราคาเทียบเท่ารถเบนซ์หนึ่งคันเลยทีเดียว

โอะโมะเทะโชอิง: สถานที่ที่จะได้พบกับผู้ครองแคว้นอย่างเป็นทางการ

ในสมัยเอโดะ โอะโมะเทะโชะองถูกเรียกว่า “ฮิรุมะ”(ห้องกว้างที่มีขนาดกว่า 4 เสื่อครึ่งขึ้นไป ) เป็นสถานที่ที่ผู้มาเยือนและขุนนางจะได้พบกับผู้ครองแคว้นอย่างเป็นทางการ มีให้ชมถึง 4 ห้องด้วยกัน

เริ่มที่”ซันโนะมะ” จิตรกรรมฝาผนังของห้องนี้คือ”ภาพจะโคเนะโกะ”หรือภาพของอีเห็นที่นั่งอยู่หน้าบ่อน้ำและใกล้ ๆ นั้นมีดอกกุหลาบพันปีที่บานรับฤดูร้อนอยู่ด้วย

ในส่วนของอิจิโนะยะเป็น”ภาพโอคะคิจิสึ” ซึ่งเป็นภาพของครอบครัวไก่ฟ้าที่กำลังเล่นกันใต้ต้นซากุระที่เบ่งบานเต็มที่ในฤดูใบไม้ผลิ แสดงออกให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของครอบครัว

ส่วนในสุดเป็นส่วนที่ได้ชื่อว่ามีความชั้นสูงมากที่สุดของโอะโมะเทะโชะอิงเรียกว่า “โจดันโนะมะ” ซึ่งภาพวาดในห้องนี้ส่วนใหญ่จะเป็นภาพต้นไม้เขียวขจีบ่งบอกถึงการมีอายุที่ยืนยาว ห้องนี้แตกต่างจากห้องอื่นตรงที่มี”โจไดกะมะเอะ”(แผงกั้นหน้าห้องนอน) รวมไปถึงการตกแต่งห้องซะชิกิ แสดงออกถึงสปิริตอันแรงกล้าของผู้ครองแคว้น

Tips:ที่หน้าห้องอิจิโนะมะมีการติดตั้งเทคโนโลยี AR ที่จะฉายภาพเสมือนจริงซึ่งจะทำให้คุณได้เห็นตอนที่โทะคุกะวะ อิเอะยะสุกำลังวาแผนการรบก่อนนำทัพไปล้อมโอซาก้า(โอซาก้าโนะจิน) ที่นี่เป็นที่ ๆ ทำให้รู้สึกว่าพระราชสำนักฮมมะรุไม่ใช่เพียงแค่สิ่งก่อสร้าที่ดูสวยงามเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์และความสำคัญอย่างมากในทางด้านประวัติศาสตร์

ในส่วนของวิดิโอที่ฉายถึงแม้จะเป็นภาษาญี่ปุ่น แต่ก็ไม่ต้องกังวลไปเพราะมีบริการซับไตเติลในภาษาจีน เกาหลี ฯลฯ ในเวลาที่มีคนมาเยอะ ๆ ก็แค่สแกน QR code ในมือถือ ก็จะได้เห็นเนื้อหาที่เหมือนกับในวิดิโอที่ฉาย

โซนไทเม็นโจะ: ห้องอันหรูหราและคลาสสิคสำหรับการเข้าพบที่เป็นส่วนตัว

ห้องนี้ถือเป็นห้องที่มีความส่วนตัวมากกว่าโอะโมะเทะโชะอิง เพราะเป็นห้องสำหรับเวลาที่ผู้ครองแคว้นอยากพบคนสนิทหรือขุนนางอย่างเป็นส่วนตัวนั่นเอง อีกทั้งที่นี่ยังเคยถูกใช้เป็นที่จัดพิธีสมรสของไดเมียวคนแรกในแคว้นโอะวะริ”โทะคุกะวะ โยะชินะโอะ”กับเจ้าหญิงฮิเมะ ห้องมีมีความหรูหราโอ่อ่าและคลาสสคมากกว่าโอะโมะเทะโชะอิง

ในโซนไทเม็นโจะนั้นประกอบไปด้วย โกะเซ็นโชะ(สถานที่เตรียมอาหาร),คุจะคุโนะมะ(ห้องญี่ปุ่นที่มีบริเวณกว้าง),ยะนะกิโนะมะ(ห้องนั่งเล่น)และคะมิไดโดะโคะโระ(ห้องครัวสำหรับครอบครัว)

ไทเม็นโจะ:พิธีสมรสของผู้ครองแคว้นถูกจัดขึ้นที่นี่

ลำดับต่อไปที่เราจะไปถึงคือ “นันโดะอิจิโนะมะ”และ”นันโดะนิโนะมะ” ทั้ง 2 ห้องมีภาพประดับฝาผนังที่เหมือนกันคือ ”ภาพซันซุยคะโจ”(ภาพของต้นบอนไซ)
ถ้าพูดตามตรงแล้ว ในพระราชสำนักฮมมะรุมีเพียงห้อง”นันโดะนิโนะมะรุ”เท่านั้นที่สามารถเข้าไปได้ แต่เนื่องจากเพื่อความสะดวกสบายของการสัญจร จึงเอาผนังกั้นออกทั้งหมดจนทำให้ไม่เหลือบรรยากาศความเป็นห้องเห็นเป็นเพียงทางเดินธรรมดาเท่านั้น

จุดเชื่อมระหว่งโอะโมะเทะโชะอิงและไทเม็งโชะคือผังที่มีความสูงค่อนข้างต่ำกว่าผนังห้องปกติ(ผนังตรงนี้เองก็ถูกเอาออกไปแล้วเหมือนกันค่ะ ฮ่าๆ)ในส่วนของด้านบนมีการตกแต่งที่ดูน่ากลัวและน่าเกรงขามเป็นการสื่อกราย ๆ ว่า “ห้ามไม่ให้ผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้ามาเด็ดขาด”

บริเวณโจดันโนะมะและซึกิโนะมะถูกเชื่อว่าเป็นสถานที่ที่เคยใช้จัดพิธีสมรสของโทะคุกะวะโยะชนะโอะและเจ้าหญิงฮะรุ ซึ่งในตอนนั้นโยะชินะโอะอายุ 15 ปีและเจ้าหญิงฮิเมะอายุ 13 ปี
ภาพวาดในโจดันโนะมะนันเป็นภาพวาดของศาลเจ้าโยะชิดะและศาลเจ้าคะโมะวะเคะอิคะซึจิที่อยู่จังหวัดเกียวโต เป็นศาลเจ้าที่ตระกูลโทะคุกะวะมีความผูกพันด้วย เนื้อหาในภาพส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับ”พิธียุดะเทะชินจิ”ของศาลเจ้าโยชิดะและการแข่งม้าที่จัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมของศาลเจ้าคะโมะวะเคะอิคะซึจิรวมไปถึงบรรยากาศหอนางโลมสมัยก่อนด้วย *”พิธียุดะเทะชินจิ”คือการตั้งหม้อเพื่อต้มน้ำร้อนหน้าศาลเจ้าและให้มิโกะ(หญิงสาวบริสุทธิ์)เป็นผู้ใช้ช่อใบไผ่พรมน้ำร้อนไปที่ศาลเจ้าเพื่อเป็นการขอพรจากเทพเจ้า

ส่วนภาพวาดใน”ซึกิโนะมะ”เป็นภาพที่เกี่ยวกับหอนางโลมที่เมืองวะกะโนะอุระซึ่งเป็นบ้าเกิดของเจ้าหญิงฮารุ ในภาพมีภาพเกี่ยวกับการทำนาเกลือและเทศกาลฟุนะที่จัดขึ้นเพื่อขอพรก่อนเริ่มทำการเกษตรในช่วงฤดูใบไม้ร่วง

Tips:ในบริเวณใกล้ ๆ โจดันโนะมะก็มีการติดตั้งเทคโนโลยี AR(การฉายภาพเสมือนจริง) เช่นกัน โดยจะทำให้เราได้เห็นพิธีสมรสระหว่างโยะชินะโอะและเจ้าหญิงฮะรุ อีกทั้งใกล้ ๆ กันยังมี QR Code สำหรับผู้ที่ต้องการใช้มือถือในการชมอีกด้วย
แอบเอะใจตรงที่โยะชินะโอะที่อายุ 15 ปีกับเจ้าหญิงฮิเมะที่อายุ 13 ปีดูโตกว่าไวไปนิด ฮ่าๆ

โซนโจระคุเด็ง: สถานที่สำหรับโชกุนที่สวยงามและหรูหรา

โซนโจระคุเด็งนั้นถูกสร้างขึ้นในปีค.ศ.1634 เพื่อเป็นที่พักสำหรับโทะคุกะวะ อิเอะมิซึ โชกุนรุ่นที่ 3 ที่จะออกเดินทางไปยังเกียวโต (โจระคุแปลว่าการไปเกียวโต)จึงเป็นที่มาของชื่อโซนนี้

โซนโจระคุเด็งประกอบไปด้วย ทางเดินซะกิโนะอุเอะ,โจระคุเต็ง,อุเมะโนะมะ,โจโกะเซ็นโชะ,ยุโดะโนะโชะอิงและคุโระคิโชะอิง เนื่องจากยุโดะโนะโชะอิงและคุโระคิโชะอิงแคบมากจึงสามารถเข้าชมได้เฉพาะในช่วงเวลาที่กำหนดเท่านั้น

ทางเดินซะกิโนะอุเอะ

ทางเดินที่ติดต่อกับโซนโจระคุเด็งคือทางเดินซะกิโนะอุเอะ ซึ่งเป็นโซนสำหรับโชกุนโดยเฉพาะ ภาพวาดของที่นี่จะเป็นภาพวาดของนกกระสาเกาะอยู่บนต้นที่ถูกปกคลุมไปด้วยหิมะ สื่อให้เห็นถึง”ฤดูหนาว”ในญี่ปุ่น
เป็นภาพวาดฝาหนังที่มีขนาดกว้างดูหรูหรามากกว่าการตกแต่งทั่วไป

โจระคุเด็ง:ที่พบปะของเหล่าโชกุน

ในโจระคุเด็งมีห้องทั้งหมด 4 ห้อง ดังนี้ : ซันโนะมะ,นิโนะมะ,อิจิโนะมะและโจดันโนะมะเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่โชกุนใช้ ห้องจึงดูมีระดับและมีบรรยากาศเหมาะสมกับความเป็นโชกุน

ทั้ง 4 ทิศของผนังห้องซันโนะมะนั้นเป็นภาพวาดของดอกไม้และนกใน 4 ฤดู ทั้งฤดูใบไม้ผลิ,ฤดูร้อน,ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว โดยเรียงแบบทวนเข็มนาฬิกา สิ่งแรกที่จะมองเห็นเมื่อก้าวเข้าไปในห้องนี้คือ”ภาพโระโระบะคุเฮ็นโจจุสึ”ที่อยู่ทางทิศตะวันออกของห้อง เป็นภาพในฤดูร้อนของนกกระสาที่กำลังพักผ่อนอย่างสบายใจใกล้ ๆ ต้นสนดำน้ำตกที่กำลังไหล

ว่ากันว่าสไตล์การตกแต่งของโจระคุเด็งนั้นได้รับอิทธิพลจากจีนมาอย่างมาก อย่างงานสลักไม้เหนือบานเลื่อนของห้อง”นิโนะมะ”ก็มีภาพนกหลายชนิดถูกสลักอยู่ ในนั้นมีนกที่ยืนอยู่ที่กลองไทโกะ ซึ่งในอดีตนั้นกลองไทโกะเป็นของบรรณาการจากประเทศจีน

นอกจากนี้ยังมีภาพฝาหนังของห้องอิจิโนะมะและนิโนะมะที่มีชื่อว่า “ภาพเทคันสึ”ซึ่งเป็นภาพที่”จางจิงเจิง”ที่เปรียบเสมือนนักการเมืองในสมัยก่อนของราชวงศ์หมิงเป็นผู้วาดไว้ เนื้อหาในภาพคือ ”ตี้เทียนถือโชว” เป็นการเล่าถึงจักรพรรดิที่มีปัญญาดีกับจักรพรรดิที่มีความชั่วร้าย โดยนำภาพมาวาดสไตล์คะโนฮะ(ศิลปะการวาดภาพแบบญี่ปุ่นโบราณ)ซึ่งภาพวาดในโจระคุเด็งนั้นได้หยิบเฉพาะส่วนดีของเรื่องออกมาวาด

อุเมะโนะมะ:สถานที่พักผ่อนสำหรับบริวารชั้นสูง

อะเมะโนะมะเป็นบริเวณพักผ่อนสำหรับข้าราชบริวารชั้นสูงที่มีหน้าที่รับใช้โชกุน สำหรับชื่อห้องมาจาก ”ภาพเซ็ทโจชิยูสึ”(ต้นบ๊วยแก่)เพราะคำว่าอุเมะแปลว่า ”บ๊วย” นั่นเอง”

โจโกะเซ็นโชะและโจโกะเซ็นโชะ:สถานที่สำหรับอุ่นอาหาร

ทั้งโจโกะเซ็นโชะและโจโกะเซ็นโชะเป็นสถานที่สำหรับอุ่นอาหารและนำอาหารออกเสิร์ฟ (จะไม่มีการปรุงอาหารที่นี่)โดยโจโกะเซ็นโชะจะรับผิดชอบอาหารในส่วนของโจระคุเด็งเท่านั้น
ที่นี่มีไม้สนฮิโนะคิที่ใช้ตอนสร้างสำนักราชวังฮมมารุหลังใหม่และป้ายที่อธิบายเกี่ยวกับการสร้างอาคารหลังนี้

แม้จะเป็นรายละเอียดเล็ก ๆ ก็สวยงาม อย่าพลาดชมล่ะ

เวลาเข้ามาชมสำนักราชวังฮมมะรุ สิ่งที่โดดเด่นที่สุดคงจะหนีไม่พ้นความสวยงามของภาพวาดฝาผนัง แต่อย่าลืมชมรายละเอียดต่าง ๆ ในอาคารด้วยนะ

เพดาน

ความสวยของเพดานจะแตกต่างกันไปตามความสำคัญห้อง เวลาชมห้องก็อย่าลืมเงยหน้ามองเพดานด้วยนะ

เพดานโคะกุมิโคเท็นโจ(โอะโมะเทะโชะอิง อิโนะมะ)
เพดานโอะริอะเกะโคะกุมิโคเท็นโจ(โอะโมะเทะโชะอิง โจดันโนะมะ)
เพดานคุโรรุชินิจูโอะริอะเกะโคะกุมิโคเท็นโจ (ไทเม็นโจะ โจดันโนะมะ)
คินสึจิกุ(โจระคุเด็ง อิจิโนะมะ)

เพดานภาพ(โจระคุเด็ง โจดันโนะมะ)

คะสะริคะนะกุ(ของตกแต่งที่ทำจากทอง)

ในสำนักราชวังฮมมะรุนั้นมีคะสะรินะคะกุหรือของตกแต่งที่ทำจากทองมากมาย เช่น คุกิคะคุชิ(ที่ซ่อนรอยตะปู)หรือที่จับประตู ระดับความสวยงามก็จะใช้มาตรฐานเดียวกับเพดานคือยิ่งสำคัญมากยิ่งสวยมาก

ที่จับประตูประดับทอง(ไทเม็นโจะ นันโดะนิโนะมะ)
ที่จับประตูประดับทอง(โจระคุเด็ง))
ที่จับประตูประดับทอง(คุโระคิโชะอิง)
คะคุชิ(โจระคุเด็ง)
คะคุชิ(ยุโดะโนะโชะอิง)
คะคุชิ(คุโระคิโชะอิง)

บริการอันหลากหลาย:เพื่อความพอใจสูงสุดในการเข้ามาชมสำนักราชวัง

หากไม่เข้าใจภาษาญี่ปุ่นล่ะก็ อย่ากังวลไป ที่สำนักราชวังฮมมะรุมีการให้บริการนำเที่ยวถึง 4 ภาษา นั่นคือภาษาญี่ปุ่น,ภาษาอังกฤษ,ภาษาจีนและภาษาเกาหลี นอกจากนี้ทุกพื้นที่ในอาคาร(ยกเว้นยุโดะโนะโชะอิงและคุโระคิโชะอิง)ติดตั้งทางลาด เพื่อความสะดวกสบายของผู้ที่มีร่างกายไม่สมบูรณ์

เครื่องนำเที่ยวด้วยเสียงในหลายภาษา

ที่บริเวณปากทางเข้าสำนักราชวังฮมมะรุ (ห้องนะกะโนะอุจิ) มีบริการให้เช่าเครื่องนำเที่ยวด้วยเสียงในหลายภาษา (ภาษาญี่ปุ่น,ภาษาอังกฤษ,ภาษาจีน,ภาษาเกาหลี)ราคาเครื่องละ 100 เยนเท่านั้นเครื่องนี้สามารถบอกรายละเอียดในตัวอาคารได้มากกว่าป้ายที่ติดตั้งอยู่หลายเท่าเลยทีเดียว

ไกด์คอร์สนำเที่ยวในหลายภาษา(ยุโนะโดะโชะอิง&คุโระกิโชะอิง)

ยุโนะโดะโชะอิงและคุโระกิโชะอิงนั้นในอดีตถูกใช้เป็นเป็นสถานที่อาบน้ำและพักผ่อนของโชกุน เนื่องจากมีพื้นที่ที่แคบจึงจำเป็นต้องใช้บริการไกด์คอร์สจึงจะเข้าไปได้
ไกด์คอร์สมีบริการทุกวันเวลาเดิม สามารถเลือกใช้บริการในภาษาญี่ปุ่น,ภาษาอังกฤษ,ภาษาจีน เวลาให้บริการของแต่ละกลุ่มภาษาก็จะแตกต่างกันออกไปโดยจำกัดกลุ่มละ 15 คนต่อการนำเที่ยว 1 ครั้ง ก่อนอื่นก็เช็คภาษาที่ต้องการใช้บริการและเวลานำเที่ยว แล้วไปรับบัตรคิวเพื่อใช้บริการ
บริการไกด์คอร์สไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ !

อย่าลืมอ่านคำเตือนก่อนเข้าด้วยนะ

ก่อนจะเข้าไปชมสำนักราชวังฮมมะรุ ขอแนะนำให้ทุกท่านอ่านคำเตือนกันก่อน ซึ่งหลัก ๆ แล้วมีดังต่อไปนี้ ห้ามสัมผัสตัวอาคาร,เวลาถ่ายรูปห้ามใช้แฟลช,ห้ามทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มในอาคาร,หลีกเลี่ยงการคุยโทรศัพท์,จดโน้ตด้วยดินสอเท่านั้น,ฝากกระเป๋าและสัมภาระทั้งหมดไว้ที่ล็อกเกอร์ก่อนเข้าชมอาคาร

อีกหนึ่งข้อสำคัญที่มักจะได้ยินอยู่บ่อย ๆ คือ จากสำนักราชวังฮมมะรุไม่สามารถไปยังตัวปราสาทสูงได้ เพราะว่าทั้งสำนักราชวังฮมมะรุและตัวปราสาทสูงเป็นอาคารเดี่ยวที่อยู่แยกกัน ไม่ได้อยู่ติดกันนั่นเอง ตัวปราสาทสูงปิดให้เข้าชมตั้งแต่ปี ค.ศ.2018 และหากการปรับปรุงอาคารเป็นไปได้ด้วยดีล่ะก็คาดว่าเราจะได้ชมตัวปราสาทสูงอีกครั้งในปี 2022 มาลุ้นอาคารโฉมใหม่ไปด้วยกันเถอะ !

สรุป

เป็นยังไงบ้างเอ่ย หลังจากอ่านบทความนี้แล้ว
เริ่มรู้สึกแล้วสิท่าว่าที่นี่ไม่ใช่เพียงแค่อาคารธรรมดา ๆ ที่มีห้องธรรมดา ๆ แต่เป็นสถาปัตยกรรมของทั้งจิตรกรและวิศวกรทผู้มีฝีมือชั้นสูงของญี่ปุ่นร่วมกันสร้างขึ้นมา!ค่อย ๆชมและค่อย ๆ ซึมซับและสัมผัสความสวยงาม รับรองว่าจะเป็นประสบการณ์ดี ๆ ไม่รู้ลืมแน่ ที่สำคัญจุดที่สวยงามของอาคารนี้แอบซ่อนอยู่หลายจุดมากมาย เปิดบทความนี้ไปพร้อมกับการออกสำรวจสำนักราชวังฮมมะรุและสัมผัสประสบการณ์อันหรูหราโอ่อ่าของชีวิตโชกุนกันเถอะ !

Related Articles Related Articles